อาชีพแอร์ อยากเป็นแอร์ สจ๊วต ต้องรู้ ว่า อาชีพนี้ทำงานอย่างไร
อาชีพแอร์
อาชีพแอร์
เมื่อ น้องๆ คิด อยากเป็นแอร์ น้องๆ ต้องรู้จัก นิยาม ของ อาชีพแอร์ ก่อนว่า มันคืออะไร
แอร์โฮสเตส (Air Hostess) คือ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่ใช้เรียกเป็นภาษาปาก สั้นๆ ภาษาไทยว่า แอร์ ส่วนเรามักจะเรียก ผู้ชายที่ทำงานอาชีพนี้ ว่า สจ๊วต
หน้าที่ของ แอร์โฮสเตส – สจ๊วต หลักๆ คือ ดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารมาเป็นอันดับ 1 รองลงมา คืองานบริการ
อาชีพแอร์ สจ๊วต ทำอะไรบ้าง?
ขั้นตอนแรกเลย ที่จะต้องรู้ก่อน สมัครแอร์โฮสเตส/สจ๊วต คือเราต้องเข้าใจให้ชัดเจน ก่อนว่างานนี้มีบทบาทหน้าที่อะไรที่ต้องทำบ้าง ศึกษาให้รู้ว่าภาพรวมของอาชีพนี้ รวมถึงสิ่งที่เราคาดหวังเกี่ยวกับงาน และ จำนวนเงินที่เราจะได้เมื่อได้ทำงานนี้ว่ามันคุ้มไหม กับไลฟ์สไตล์ของเราที่จะต้องเดินทางบ่อยๆ เจอผู้คนมากหน้าหลายตา โดยให้เช็ค
รายละเอียดงาน แอร์โฮสเตส / สจ๊วต
การเป็นแอร์โฮสเตส/สจ๊วต นี้ เป็นงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้โดยสารของสายการบิน และทำให้มั่นใจว่าลูกค้าของเราได้เดินทางในเที่ยวบินที่ปลอดภัย สะดวกสบาย และประทับใจมากที่สุด ! ค่ะ
ในฐานะการบินลูกเรือ งานของคุณจะแตกต่างกันไปทุกเที่ยวบิน หรือ ทุกไฟล์ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเที่ยวบินระยะสั้น หรือระยะยาว รวมถึง ขนาดทีม ที่คุณทำงานด้วย ซึ่งในแต่ละเที่ยวบิน ก็จะมี
หน้าที่หลักๆด้วยกันดังนี้ :
ต้องเข้าร่วมประชุมก่อนบิน
ซึ่งจะพูดถึงเกี่ยวกับเที่ยวบินนั้นๆ และกำหนดการต่างๆ โดยลูกเรือจะได้แจ้งล่วงหน้าก่อนในกรณีที่มีผู้โดยสารที่มีความต้องการพิเศษ เช่นผู้โดยสารเด็กที่เดินทางมาคนเดียว หรือ ผู้โดยสารที่แพ้อาหารต่างๆ) หัวหน้าลูกเรือ ก็จะทำการแจ้งในห้องประชุมนี้ เราเรียกเป็นภาษาแอร์ว่า Briefing (บรีฟฟริ่ง)
ทำ Safety Check & Security Search
ต้องเช็คความปลอดภัยของเครื่องบินตามโซนต่างๆ ที่กำหนด ตรวจเช็คอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆว่าทำงานอย่างถูกต้องไหม รวมทั้งต้องเช็คเสบียงด้วยว่า มีเสบียงเพียงพอไหมสำหรับไฟล์นั้นๆ ถ้าไฟล์มีผู้โดยสาร 200 คน แต่มีอาหารแค่ 100 ที่ คิดดูว่าอยู่บนฟ้าแล้ว เราจะไปหาอาหารมาจากไหน ดังนั้น ต้องเช็คให้ครบ
Boarding ผู้โดยสาร
ทักทาย และ ยืนต้อนรับผู้โดยสารบอร์ดดิ่ง และพาผู้โดยสารไปยังประจำที่นั่งของตัวเอง
สาธิตความปลอดภัย
ดำเนินการสาธิตความปลอดภัยบนเครื่อง (สำหรับเครื่องบินลำเล็กที่ไม่มีทีวี)
Secure Cabin
ตรวจเช็คให้มั่นใจว่า กระเป๋าทุกใบถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัย และไม่ขวางประตูทางออกฉุกเฉิน
ตรวจเช็คว่าผู้โดยสารทุกคนคาดเข็มขัดนิรภัย และเช็คห้องโดยสารทั้งหมดว่าปลอดภัยก่อนนำเครื่องขึ้น
เริ่มงานบริการ
(อำนวยความสะดวก)
บริการผู้โดยสาร และทำให้แน่ใจว่าผู้โดยสารทุกท่านได้
รับความสะดวกสบายระหว่างเที่ยวบิน
ให้บริการอาหาร และ เครื่องดื่ม
ขายสินค้าปลอดภาษีให้กับผู้โดยสาร และ แนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนดนำเข้าสินค้าอากร ต่างๆ(ให้คำแนะนำต่างๆ ระหว่างการเดินทาง)
ทำประกาศต่างๆ บนเครื่องบิน
ตอบคำถามของผู้โดยสาร
ดูแลผู้โดยสารในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และทำให้มั่นใจว่าผู้โดยสารสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง(ดูแลปฐมพยาบาล)
ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากจำเป็น
ทำให้แน่ใจว่าผู้โดยสารทุกคนลงจากเครื่องบินอย่างปลอดภัยดูแลเรื่องความปลอดภัยก่อนนำเครื่องลงจอด
ก่อนเครื่องจะแลนด์ ตรวจสอบว่าไม่มีสัมภาระของผู้โดยสารหลงเหลือในเครื่องแล้ว หรือเช็คว่าบนเครื่องไม่มีสิ่งแปลกปลอมน่าสงสัยหลงเหลืออยู่บนเคร่อง
หลังจากที่ทำงานแต่ละไฟล์เสร็จแล้ว
เขียนรายงานเกี่ยวกับเที่ยวบิน หากมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติ (ซึ่งมักจะเป็น หัวหน้าแอร์ เป็นคนทำ)
คุณสมบัติ การเป็นแอร์โฮสเตส
หลายๆคนมักจะถามว่า ถ้าอยากเป็นแอร์โฮสเตสต้องเรียนอะไร? ต้องเรียนคณะอะไร? เรียนสายไหน?
จริงๆไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องจบอะไรมา หรือจะต้องจบคณะอะไร มาก่อน
เพียงแต่อาจจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้:
- ต้องอายุอย่างต่ำ 18 ปีขึ้นไป (บางสายการบิน จะต้อง 21 ปีขึ้นไป)
- จะต้องจบการศึกษาอย่างน้องม.ปลาย ขึ้นไป
- จะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษ ได้ ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน
- จะต้องมีร่างกายที่แข็งแรง สมบรูณ์
- จะต้องว่ายน้ำได้ หรือ ลอยตัวในน้ำได้
- ตาไม่บอดสี
- มีหนังสือเดินทางที่ถูกต้อง โดยไม่มีข้อจำกัดสำหรับจุดหมายปลายทางที่สายการบินเดินทางไป
ทักษะ การเป็นแอร์โฮสเตส
หากต้องการประสบความสำเร็จใน อาชีพแอร์ / สจ๊วต นี้น้องๆจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะที่หลากหลายเหล่านี้:
ทักษะการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม
จำเป็นอย่างมาก เพราะ เวลาทำงานเราจะต้องทำงานกันเป็นทีม
ทักษะการบริการลูกค้าให้ประทับใจ
เราต้องรู้จักเอาใจลูกค้ามาใส่ใจเรา กับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ยิ่งเราละเอียด ก็จะทำให้เราบริการลูกค้าได้อย่างดีมากยิ่งขึ้้น
รู้จักกาลเทษะ การวางตัว เมื่อต้องบริการ ลูกค้า VIPs หรือ ราชวงศ์ชั้นสูง
บางครั้ง โปรไฟล์ ผู้โดยสาร เป็นราชวงค์ ชั้นสูง หรือ เป็น ผู้คนในสังคมชั้นสูง เราต้องรู้จักการวางตัวที่ดี ด้วย
มีทักษะการทำงานเป็นทีม (ซึ่งแต่ละไฟล์ ก็มีทีมต่างกันไป หมุนเปลี่ยนไปทุกวัน)
เราต้อง สามารถร่วมกับกับ ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยได้ เพราะเราไม่รู้เลยว่า เพื่อนร่วมงานของเราในวันนั้นๆ เป็นใคร ต้องเข้าใจระบบการทำงานเป็นทีมเป็นอย่างมาก
มีความยืดหยุ่นในการทำงาน
เพราะเวลาทำงานจะปรับเปลี่ยนไปเสมอ แล้วแต่ตารางบิน บางครั้ง เราต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ต้องรู้จักวางแผน
มีความมั่นใจในกรณีที่ต้องรับมือกับผู้โดยสารหลายๆคน
บางครั้ง เวลาทำงาน ผู้โดยสารบางแต่ละคน มีความต้องการแตกต่างกัน คนนั้นอยากได้นั่น คนนี้อยากได้นี่ เราต้องรู้จักการแบ่งงาน และ รับมือกับการเรียกร้องสิ่งต่างๆ จากผู้โดยสารให้ได้ในเวลาเดียวกัน
เรียนรู้ไว ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
อาชีพแอร์โฮสเตส นั้น ต้องรู้จักเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และ ต้องสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาปรับใช้ ในสถานะการจริง ให้ได้ด้วย
สามารถทำงานได้ในพื้นที่ ที่จำกัด
ที่ทำงานของ อาชีพแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตนั้น มีอย่างจำกัด เวลาบริการลูกค้า ก็จะต้องเดินในทางเดินแคบๆ แถมต้องคอยมาระมัดระวัง เวลาเดินอีกด้วย ไม่ให้ สะดุดขาผู้โดยสาร จึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องมีความคล่องตัวในการงาน
สามารถควบคุมสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างสงบ และ รวดเร็ว
เป็นแอร์ / สจ๊วต จะต้องสามารถควบคุม สติ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ได้ นอกจากเราจะต้องมีสติแล้ว เรายังจะต้องไปช่วยผู้โดยสารท่านอื่นๆ ให้สงบลงให้ได้อีกด้วย
การสื่อสารภาษาอังกฤษสำคัญมาก !!
ถ้าอยากเป็นแอร์โฮสเตสแต่ไม่เก่งภาษา ก็ต้องฝึกฝน ให้อย่างน้อย ต้องพูดได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถสื่อสารรู้เรื่อง
นอกเหนือจากนั้น ยังมีเรื่องของ ส่วนสูงแอร์โฮสเตส และ มีการสอบเอื้อมแตะ อีกด้วย
ส่วนสูง และ น้ำหนัก จะต้องมีความเหมาะสมสัดส่วนกันกับส่วนสูง ด้วย !!
คำแนะนำเพิ่มเติม: จำเป็นไหมต้อง เรียนแอร์?
คุณไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่โรงเรียนแอร์โฮสเตส เพิ่มเติม เพื่อสมัครเป็นแอร์โฮสเตส/สจ๊วต
เพราะถึงแม้ว่าจะไปโรงเรียน ก็ไม่ได้ทำให้มีข้อได้เปรียบในการเป็นแอร์โฮสเตส/สจ๊วด มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณตั้งใจจะสอบแอร์สายตะวันออกกลาง หรือ สายเอเชียเหล่านี้ ไม่จำเป็นจะต้องไปฝึกอบรมใดๆ
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการสมัครแอร์โฮสเตส สายการบินบางแห่งในยุโรป อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีใบรับรองการบินก่อนจึงจะสามารถสมัครได้
นอกจากนี้ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องของคุณ ก็อาจจะมีส่วนช่วยให้ได้รับเลือกมากยิ่งขึ้น อาทิเช่น งานบริการต่างๆ พนักงานที่ทำงานในโรงแรม , รีสอร์ท หรือ ร้านอาหาร
เงินเดือนแอร์ และ สวัสดิการ
แอร์โฮสเตสได้เงินเดือนเท่าไหร่ ? โดยทั่วไปเงินเดือนจะของแต่ละสายการบินจะแตกต่างกันไปเล็กน้อย โดยสามารถคาดหวังได้ตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ฐานเงินเดือน + ค่าชั่วโมงบิน + ค่าเบี้ยเลี้ยงอาหาร ของแต่ละประเทศที่เดินทางไป
และในแต่ละปี สายการบินก็จะมอบโบนัสให้ด้วย รวมทั้งค่าคอมมิชชั่นต่างๆ ที่เราทำได้ในการขายของบนเครื่องบิน (สายการบินแขก ส่วนใหญ่หัวหน้าแอร์ จะเป็นคนรับผิดชอบเท่านั้น)
ซึ่งเนื่องจากมีปัจจัยหลายๆอย่าง จึงทำให้แต่ละเดือน แอร์โฮสเตส แต่ละคน จะได้เงินเดือนไม่เท่ากัน
แต่โดยเฉลี่ยดูแล้ว ถ้าเป็นสายการบินย่านตะวันออกกลางอย่าง การ์ต้า หรือ สายการบินอิมิเรตส์ แล้วหล่ะก็ สามารถเฉลี่ยเงินเดือนได้ ถึงเดือนละ 90,000 – 100,000 บาทต่อเดือน ส่วนลูกเรือที่มีอายุการทำงานนานหน่อย ก็จะได้เงินเดือน เพิ่มมากขึ้น ตามไปด้วย
นอกเหนือจากเงินเดือน
- คุณยังมีสิทธิประโยชน์มากมายอื่นๆอีก (ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบิน) รวมไปถึง
- ตั๋วฟรี ที่จะให้พนักงานไปไหนก็ได้ รอบโลก ปีละ ครั้ง
- ตั๋วสต๊าฟ หรือที่เรียกว่า ตั๋ว ID ซึ่งจะเป็นตั๋วราคาพนักงาน ที่จะลดราคาถึง 90 – 50 %
- ตั๋วสต๊าฟ ที่มอบให้กับ ครอบครัว และ สามี/ภรรยา บางสายการบินให้เพื่อนได้ด้วย
- ประกันเจ็บป่วย สุขภาพ ทั่วโลก
- ฟรีห้องพัก รถรับส่ง และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สายการบินจะออกให้
- ซื้อของใน ดูตี้ฟรี ลดราคา ทั่วโลก
การเทรนนิ่ง แอร์โฮสเตส
แต่ละสายการบิน มีการจัดการเทรนนิ่ง ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งลูกเรือแต่ละคน จะต้องได้รับการเทรนจากสายการบินก่อน ที่จะได้เริ่มบิน
ความสั้น ความยาว ของระยะเวลาที่ต้องเทรน ก็จะขึ้นอยู่กับสายการบินที่เราไปสมัครอีกครั้ง ซึ่งโดยส่วนมาก จะใช้เวาประมาณ 2 เดือน ในการเทรนนิ่ง จึงจะสามารถเริ่มบิน ได้
ในช่วงนี้จะเป็นการเทรนนิ่งเกี่ยวกับระเบียบ ต่างๆ หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตอนทำงาน ซึ่งรวมไปถึง เรียนรู้วิธีการจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้
เช่น การอพยพผู้โดยสารออกจากเครื่องบิน บนบก หรือในน้ำ เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่นหน้ากากออกซิเจน และจะได้ฝึกบินเป็นแอร์โฮสเตส/สจ๊วต ต่อไปหลังจากเทรนเสร็จ แล้ว ซึ่งระหว่างเทรน จะมีการสอบ ทั้งภาคทฤษฏี และ ภาคปฏิบัติด้วย และจะต้องผ่านเกิน 90 %
การเทรนนิ่ง จะรวมไปทั้ง เรียนรู้ทฤษฏี และ เรียนปฏิบัติ ซึ่งจะครอบคลุมหัวข้อดังนี้ ;
- หัวข้อด้านความปลอดภัย และ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย
- เรียนดับเพลิง
- เรียนปฐมพยาบาล
- เรียนรู้ด้านการจัดการครัว
- เรียนรู้การเตรียมอาหาร และ การให้บริการกับลูกค้า
- เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ ของสายการบินว่ามีอะไรบ้าง
- เรียนรู้ด้านวัฒนธรรมต่างๆ
- เรียนด้านการดูและ และ วิธีการปฏิบัติตัวกับผู้โดยสารในสถานะการต่างๆ
- เรียนรู้ด้านกรูมมิ่ง (ความสวยงาม การแต่งหน้า ทำผม และความสะอาด)
- เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศยาน
- เรียนรู้ระเบียบศุลกากร และ การตรวจคนเข้าเมือง
- เรียนรรู้ด้านการจัดการทรัพยากรลูกเรือ
กฏระเบียบแอร์ และ ข้อเสียในการเป็น อาชีพแอร์โฮสเตส / สจ๊วต
หากคิดที่จะเป็นแอร์โฮสเตส และ สจ๊วตแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือสมัครแอร์ นั่นก็คือ เวลาทำงานแอร์ เป็นเวลาที่ผิดปกติ จากงานออฟฟิศ
ซึ่งตารางบิน ก็คือตารางชีวิตของเดือนๆนั้น จะไม่มีหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือเทศกาลที่สำคัญต่างๆ อย่างเช่นวันปีใหม่ สงกรานต์ แบบคนทั่วไป ถ้าตารางออกมาตรงกับวันปีใหม่ ที่ทุกคนกำลังเค้าดาวน์กันอยู่ แต่เราต้องไปบิน ก็คือต้องไปบิน เพราะมันคือตารางบินของเรา ก็ต้องไป
บางครั้งชั่วโมงการทำงาน ก็จะมากกว่าคนทั่วไปโดยเฉพาะถ้าจะต้องบินระยะไกล ไฟล์ยาวๆ ตัวอย่างเช่นบางเที่ยวบินกำหนดการออกมา 8 ชั่วโมง ซึ่งมันอาจจะไม่ 8 ชั่วโมงแป๊ะๆ ก็ได้ สามารถนานได้มากกว่านั้นได้ อาจจะด้วยสภาพอากาศ ดินฟ้าอากาศ ที่สามารถทำให้ไฟล์นั้น ยาวออกไป เป็น 9-10 ชั่วโมง
และงานแอร์โฮสเตส เป็นงานที่ต้องใช้ร่างกายเยอะ และจะต้องทำงานในพื้นที่ที่จำกัด โดยเฉพาะงานในห้องครัว (งานแกลลี่) ถือเป็นงานที่ค่อนข้างหนัก
ดังนั้น คุณควรพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อสุขภาพด้วย อาทิ jet lag, ปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นเวลา, การกินที่ไม่ตรงเวลาบางทีกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ, ปัญหาทางเดินอาหาร, การได้รับรังสี, การบาดเจ็บจากการเคลื่นไหวร่างกายในตำแหน่งซ้ำๆ รวมไปทั้ง โรคซึมเศร้า ด้วย
คือมันก็มี ข้อดี และ ข้อเสีย ของการเป็นแอร์ ดังนั้นเราควรพิจารณาให้หมดทุกด้านด้วยค่ะ
สายการบินจะให้ชุดยูนิฟอร์มมาให้ใส่ ในขณะที่ทำงาน ซึ่งคุณแต่ละสายการบินก็จะมีกฏของตัวเอง ลูกเรือ จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
(ยกตัวอย่างเช่น ห้ามมีรอยสักที่มองเห็นได้เมื่อใส่ชุดยูนิฟอร์มของสายการบิน) ดังนั้น ถ้าคุณมีรอยสัก สายการบินก็อาจจะปฏิเสธรับคุณเข้าทำงานได้ ค่ะ
ลองเริ่มสมัครเป็นแอร์โฮสเตส/สจ๊วด สายแรก
ลงมือสมัครแอร์ !!
โดยสารมารถสมัครแอร์ออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ โดยตรงของสายการบินที่สนใจ
กรอกรายละเอียด และ อัพโหลดรูปถ่าย เอกสารต่างๆ รวมไปถึง เรซูเม่ หรือ ซีวี ด้วย
หากคุณไม่ได้รับจดหมายเชิญ ให้ไปเข้าร่วมการสัมภาษณ์ทางอีเมล หรือ ทางโทรศัพท์
คุณสามารถไปลองสมัครได้อีกครั้งในรอบ Open Day ได้ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย หรือ ประเทศใกล้เคียงที่มีการเปิดรับสมัครแอร์โฮสเตส/ สจ๊วต อยู่
อย่างเช่น มีการเปิดรับสมัครลูกเรือ ของสายการบินอิมิเรตส์ อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เราก็สามารถเดินทางไปร่วมสัมภาษณ์ได้ ในกรณีที่เราได้รับจดหมายเชิญ หรือ เป็นรอบ Open Day
และไม่ใช่เรื่องแปลก ที่คุณอาจจะยังไม่ได้ติดปีก ในการลองไปสมัครครั้งแรก
ให้ไปสมัครไปเรื่อยๆ สองครั้ง สามครั้ง สี่ครั้งก็ได้ เพราะทุกครั้งที่เราไป เราจะได้เปิดประสบการณ์การไปสมัคร และไม่ประหม่า ในครั้งต่อๆ ไปอีกด้วย
พลอยมีเพื่อนแอร์หลายคนเลย ที่สมัครเป็น 10 ครั้ง จนได้คว้าปีก จากสายการบิน 5 ดาวระดับโลก และทำงานเป็นลูกเรืออยู่จนถึงทุกวันนี้
แต่ก็เป็นเรื่องจริง สำหรับบางคนที่ เก่งๆ ที่เขาสามารถสอบผ่านการสัมภาษณ์แอร์ ได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ลงสมัครเลย ก็มีเยอะเช่นกัน หรือบางคน อาจจะลองสมัครแอร์โฮสเตส ถึง 2-3 ครั้งกว่าจะได้ ดังนั้น ไม่ต้องเสียกำลังใจไปนะคะ เตรียมตัวให้พร้อม ตอบคำถามให้ดี แล้ว รอสมัครรอบต่อไปเร็วๆ นี้ !
หมายเหตุ: ถ้าอยากเป็นแอร์โฮสเตส เร็วๆ บางทีโอกาส ก็ไม่ได้เดินทางมาหาเราง่ายๆ ดังนั้น ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องลงทุน เดินทางไปสมัครที่เมืองอื่น หรือต่างประเทศ เพื่อสมัครแอร์โฮสเตส/สจ๊วต ก็ลุยเลยค่ะ ยอมเสี่ยงไปลองสนามต่างประเทศ เพราะถ้ารอ กว่าที่สายการบินจะวนมาเปิดรับสมัคร ที่ประเทศไทย อาจจะรอนานเป็นปี หรือ หลายปีก็เป็นได้ อาจจะเริ่มต้นสมัครต่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านก่อน อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์
โดยสรุป การจะเป็นแอร์โฮสเตส ได้ จะต้องเป็นคนที่สมบรูณ์แบบสำหรับงานพนักงานต้องรับบนเครื่องบิน นี้ เพราะคุณจะต้อง มีความเป็นผู้ใหญ่ มีร่างกาย และ จิตใจที่เต็มไปด้วยความเห็นหกเห็นใจ และอยากช่วยเหลือผู้อื่น
พลอยขออวยพรให้พวกคุณทุกท่าน ได้สวมใส่ เครื่องแบบลูกเรือ ที่ต้องการในไม่ช้านี้นะ
หวังว่า ทุกคนคนจะเข้าใจกันแล้วว่า อยากเป็นแอร์โฮสเตสต้องทำยังไง กันบ้าง !!
ปัจจุบันมีสายการบินทั้งใน และ นอกประเทศให้คุณเลือกมายมาย ให้ไปสมัครงาน ซึ่งมีเยอะจน เราสามารถเลือกสมัครจากสายการบินที่มีชุดยูนิฟอร์ม สวยถูกใจเราได้เลย สายการบินที่ใหญ่ๆในไทย ก็มีดังนี้ :
- สายการบินไทย (Thai Airways)
- สายการบินบางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways)
- สายการบินไทยสมายด์ (Thai Smile)
- สายการบินนกแอร์ (Nok Air)
- สายการบินไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia)
สายการบินต่างชาติอื่นๆ ที่มีไฟล์ ไป-กลับ มาไทย ที่นิยม ก็รวมถึง :
- สายการบินอิมิเรตส์ (Emirates Airline)
- สายการบินการ์ต้าแอร์เวย์ (Qatar Airways)
- สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines)
- สายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways – ANA)
- สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ ( Singapore Airlines)
สายการบินเหล่านี้ ล้วนเป็นที่นิยม เพราะ มีเส้นทางการบินหลายที่ และ มีความมั่นคง ปลอดภัย รายได้ดี
ซึ่งหลังจากที่เรามีสายการบินที่ต้องการสมัครไว้ในใจแล้ว
ทีนี้ เราก็ตรวจสอบเว็บไซต์ของสายการบินเหล่านั้น เพื่อหาว่า เขากำลังเปิดรับสมัครงานอยู่ไหม?
และถ้าถึงแม้ว่าสายการบินที่เราชื่นชอบ ยังไม่เปิดรับสมัคร เราก็ควรที่จะเข้าไปเว็บไซต์หลักของเค้า
แล้วคอยตรวจสอบดูอยู่เรื่อยๆว่า เค้าจะมาเปิดรับสมัครแอร์โฮสเสต/สจ๊วต อีกเมื่อไหร่ ครั้งล่าสุดที่สายการบินเปิดรับสมัครไป นั้นเมื่อไหร่
ที่สำคัญ บางครั้ง โอกาสมักจะมาอย่างไม่ได้ตั้งตัว จงเตรียมพร้อมให้แน่ใจว่า คุณเตรียมเอกสารการสมัคร อาทิเช่น ใบเรซูเม่ , รูปสมัครแอร์ หรือ จดหมายสมัครงาน เตรียมพร้อมไว้ ในการสมัครออนไลน์ และ ในวันไปสัมภาษณ์จริง
ความก้าวหน้าในอาชีพแอร์โฮสเตส/สจ๊วต
คุณจะพบว่า ความจริงแล้วอาชีพแอร์มีตัวเลือกมากมายสำหรับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การบิน
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณทำงานไปสักพัก ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง จากทำงานในชั้นอีโคโนมี ไปจนชั้นธุรกิจ เป็นหัวหน้าแอร์แล้ว เมื่อคุณมีอายุงานที่มีอาวุโสขึ้นไปอีก ก็สามารถสมัครทำงานสำหรับเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว หรือสำหรับบางท่าน อาจจะตัดสินใจผันตัวไปเป็น เทรนเนอร์ ผู้ฝึกอบรวมลูกเรือ รุ่นใหม่ๆ บางคน ก็หันมาเป็น รีครูเตอร์ กรรมการสรรหาลูกเรือ แผนกบุคคล ก็มี ซึ่งทุกตำแหน่งในองกรณ์ มีความเป็นไปได้ที่เราสามารถสมัครได้หมด อย่างไม่มีที่สิ้นสุด !
อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว ลองถามตัวเองอีกครั้งว่า พร้อมหรือยังสำหรับเส้นทางสู่การเป็นแอร์โฮสเตส ?
อ่านมาถึงตรงนี้ คิดว่าบทความนี้มีประโยชน์กับตัวคุณไหม ? บางทีคุณอาจจะบอกตัวเองในใจแล้วว่าทำไมถึงอยากเป็นแอร์ แล้ว จะต้องทำอะไรบ้าง
ถ้าตัดสินใจลงมือสมัครแล้ว คุณสามารถฝากคอมเม้นไว้ด้านล่าง เพื่อแชร์ ความรู้สึก หรือ ประสบการณ์ต่างๆ ได้ที่นี่กับเรา แอร์แขก
Ploy
สวัสดีค่ะ พี่พลอย ค่ะ พี่ดีใจที่น้องๆ สนใจ ที่เข้ามาเว็บไซต์ ของพี่นะคะ ติดต่อพี่ได้ที่ E-mail : team@airkhaek.com หรือ Facebook : https://www.facebook.com/airkhaek.co ประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่ตะวันออกกลาง : https://go.airkhaek.com/qatar-crew-life