เทคนิคการสัมภาษณ์งาน ให้ผ่าน และ ได้งานจริง

เทคนิคการสัมภาษณ์งาน

เทคนิคการสัมภาษณ์งาน

สำหรับคนที่กำลัง หางาน และ ได้ส่ง Resume หรือ โปรไฟล์สมัครงานไป แล้วได้รับ การตอบรับ เชิญให้ไปสัมภาษณ์งาน และ กำลังมองหา เทคนิคการสัมภาษณ์งาน ให้ผ่าน และ ได้รับคัดเลือกเข้าไปทำงานอยู่ หล่ะก็

ขอบอกว่าคุณไม่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว เพราะวันนี้ เราได้ลิสต์ เทคนิคการสัมภาษณ์งาน มาไว้ทั้งหมด ให้คุณได้เตรียมตัว เตรียมพร้อม เอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ ในการสัมภาษณ์งานของคุณที่กำลังจะเกิดขึ้น

อย่าลืมว่า เวลาเรา ไปสัมภาษณ์งาน เราไม่รู้เลยว่า เราจะเจอกับ คำถามสัมภาษณ์งาน แนวไหน จะเป็น คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา ที่เอามาวัด ทัศนคติ หรือ มุมมองในการทำงานของเรา หรือเปล่า

ดังนั้น เราต้องรู้ แนวทางในการ ตอบคำถามสัมภาษณ์งาน ไม่ใช่ จำคำตอบไปตอบ นั่นถึงจะทำให้ คุณรู้สึกมั่นใจได้ว่า จะรับมือกับ คำถามสัมภาษณ์งาน เหล่านั้นอย่างไร

เทมเพลต เรซูเม่ จดหมายสมัครงาน

10 เทคนิคการสัมภาษณ์งาน ต้องรู้ก่อนวันสัมภาษณ์งาน

ก่อนที่เรา ไปสัมภาษณ์งาน เราจะต้อง เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน เพื่อให้เรา เข้าใจว่า เราจะต้องไปเจอกับอะไรบ้าง เป็นการเตรียมพร้อมทั้ง ร่างกาย และ จิตใจ ความรู้ ทัศนคติ ให้พร้อม ก่อน ไปสัมภาษณ์งาน เพื่อให้คุณ มีความมั่นใจ มากขึ้น รู้ว่าจะต้องไปเจอกับอะไรบ้าง จะได้ สามารถรับมือได้อย่าง Professional หรือ แบบมืออาชีพ ซึ่งวันนี้ เรามี 20 เทคนิคการสัมภาษณ์งาน มาฝาก ไปดูกันค่ะ

1. หาข้อมูลของบริษัท ที่จะ ไปสัมภาษณ์งาน

ก่อนที่เราจะไปสัมภาษณ์งานกับบริษัท อะไรก็ตามเราควรที่จะทำการศึกษา เกี่ยวกับ ข้อมูลบริษัทนั้นๆก่อน เช่น รางวัลล่าสุดที่บริษัท ได้รับมาล่าสุด คู่แข่งของบริษัท คือใคร ค่านิยม วิสัยทัศน์ และ พันธกิจ ของบริษัท คืออะไร พื้นเพภูมิหลัง ของ บริษัท เริ่มต้นก่อ ตั้งมา เพื่อ วัตถุประสงค์ อะไร

ซึ่งเราสามารถหา ข้อมูล บริษัท ได้จากช่องทางเหล่านี้

  • เว็บไซต์ ของบริษัท : กดไปอ่าน About Us / About Company / Company History
  • สื่อโซเชี่ยวมีเดีย : อย่าง Facebook Page / Twitter / LinkedIn เป็นต้น
  • ข่าวประชาสัมพันธ์ : ช่องทางอื่นๆ เพื่อดูว่า บริษัทมี โครงการอะไร บ้าง

2. เตรียม ชุดสัมภาษณ์งาน ไว้ล่วงหน้า

Dress Your Way Success – การแต่งตัว คือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ก่อนที่จะ ไปสัมภาษณ์งาน คุณควรที่จะเตรียม ชุดสัมภาษณ์งาน ไว้ล่วงหน้า ว่าเราจะใส่ ชุดอะไร ซึ่ง การเลือกซื้อชุด ไม่ว่าจะเป็น การสัมภาษณ์งานครั้งแรก ของ นักศึกษาจบใหม่ ก็ควรที่จะเลือก ใส่ ชุดสูท ไปสัมภาษณ์งาน เพื่อ ความเป็น มืออาชีพ แต่ถ้าบางงาน บางตำแหน่ง มีความเป็นกันเองมากๆ อาจจะใส่ ท่อนบน เป็น เสื้อสูท แต่ท่อนล่าง เป็น กางเกงสแล็ค ทั่วไปได้

วิธีการเลือก ชุดสัมภาษณ์ผู้ชาย

  • ใส่ ชุดสูท ไปสัมภาษณ์งานที่ทางการ
  • ใส่ เสื้อสูท กับ กางเกงแสล็ค สำหรับงานที่ไม่ทางการได้
  • ใส่ รองเท้าหนัง ไปสัมภาษณ์งาน ที่ทางการ
  • ใส่ รองเท้าผ้าใบลำลอง ไปสัมภาษณ์งานที่ไม่ทางการได้

วิธีการเลือก ชุดสัมภาษณ์งานผู้หญิง

  • ใส่ ชุดสูท กางเกง หรือ กระโปรง (ต้องไม่สั้นเหนือเข่าเกิน 2 นิ้ว) ไปสัมภาษณ์งาน ที่ทางการ
  • ใส่ ชุดเดรส แบบทางการ สีเรียบ กับ เสื้อสูท ไปสัมภาษณ์งาน ที่ทางการ
  • ใส่ เสื้อสูท กับ กางเกงสแล็คผู้หญิง ไปสัมภาษณ์งานที่ไม่ทางการได้
  • ใส่ รองเท้าหนัง ปิดส้น ห้ามเห็นนิ้วเท้า ไปสัมภาษณืงานที่ทางการ
  • ใส่ รองเท้าคัตชู ส้นเตี้ย ปิดส้น ไปสัมภาษณ์งานที่ไม่ทางการได้

3. ดูแลเรื่อง แต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน และ Grooming 

การแต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน

การแต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน คือ เราจะต้อง แต่งตัวให้ถูกกับ กาลเทศะ และ เหมาะสมกับ ตำแหน่งงาน ที่เราสมัคร ทั้งผู้หญิง และ ผู้ชาย ควรเลือก ใส่ เสื้อเชิ้ต หรือ เสื้อเบลาส์ ด้านใน และ ใส่สูท ทับ สำหรับผู้หญิง ท่อนล่าง ควรใส่เป็น กางเกงสแล็ค สีโทนดำ กรม ส่วน ด้านบน สามารถเลือกใส่ เสื้อสีอ่อน อย่าง สีขาว สีฟ้าอ่อน เป็นต้น ซึ่ง โทนสีที่ เซฟที่สุด สำหรับ การแต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน คือ ท่อนล่างสีดำ ท่องบนสีขาว ปลอดภัยสุด ค่ะ

นอกจากนี้ คุณจะต้อง ดูแลตัวเอง เรื่อง กรูมมิ่ง Grooming ด้วย

การดูแลตัวเอง เรื่อง Grooming คือ การดูแลเรื่อง ความสะอาด ของร่างกาย ตั้งแต่ ความสะอาด กลิ่นตัว กลิ่นปาก และ ผม หนวดเครา เล็บมือ เล็บเท้า ควรตัดให้เรียบร้อย หนวดเคราสำหรับผู้ชายควรโกนให้สะอาด ผมควรสระผม ไม่ปล่อยให้ ผมมัน ไม่ได้สระ ก่อน ไปสัมภาษณ์งาน 

4. ฝึก ตอบคำถามสัมภาษณ์งาน ยากๆ

เช่น คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา ต่างๆ ว่าควรจะตอบอย่างไร และควรฝึกตอบ ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

5. เตรียม เอกสารสัมภาษณ์งาน ล่วงหน้า

ก่อนจะ ไปสัมภาษณ์งาน คุณควรที่จะ เตรียม เอกสารสัมภาษณ์งาน ที่บริษัท ระบุ ให้เตรียมไปในวันสัมภาษณ์ ล่วงหน้า ซึ่ง จะ ดูได้ว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง จากใบประกาศรับสมัคร หรือ อีเมล เชิญไปสัมภาษณ์ แต่ถ้า บริษัทไม่ได้ ระบุ สิ่งที่คุณ ควรเตรียมไปล่วงหน้า คือ

List สิ่งที่ควรเตรียมไป ก่อน ไปสัมภาษณ์งาน

  • เรซูเม่
  • อีเมล ที่เชิญไปสัมภาษณ์
  • รูปถ่ายสมัครงาน
  • เอกสารราชการอื่นๆ เช่น สำเนาพาสปอร์ต บัตรประชาชน
  • สมุดโน้ต ปากกา เป็นต้น

6. ฝึก แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน ภาษาอังกฤษ

ทุกครั้งที่ ไปสัมภาษณ์งาน คุณจะถูกขอ ให้ แนะนำตัว ก่อนเริ่มต้น สัมภาษณ์งาน ซึ่ง จะเป็น การแนะนำตัวสั้นๆ ว่าคุณชื่ออะไร ทำอะไรมาก่อนหน้านี้ ซึ่ง การ แนะนำตัวสัมภาษณ์งาน นี้ จะเป็น โอกาส ของคุณ ในการเริ่มต้น สร้างความประทับใจ ตั้งแต่ ครั้งแรก กับกรรมการ

วิธีการ ฝึกแนะนำตัว ก่อนไปสัมภาษณ์งาน

  • เขียนร่าง บทพูดแนะนำตัว ก่อนไปสัมภาษณ์งาน
  • ควรระบุ ข้อมูลสำคัญ และ สิ่งที่น่าดึงดูดใจ ถึงสิ่งที่ทำมาก่อนหน้านี้
  • ซ้อม พูด แนะนำตัว กับ เพื่อน และ ถามความคิดเห็น
  • หา ตัวอย่าง บทพูดแนะนำตัว ใน การสัมภาษณ์งาน
  • พูดแนะนำ ชื่อ ให้ชัดเจน อย่าพูดเร็วเกินไป
  • พูดในสิ่งที่ อยากให้กรรมการถามต่อ เช่น เคยไปแลกเปลี่ยนมา / เคยทำงานต่างประเทศ
  • เลือกใช้คำพูด ที่แสดงจุดเด่น ของตัวเอง ออกมา แต่ไม่ อวย ตัวเองมากเกินไป
  • ต้องฝึกพูดแนะนำตัวเอง ภาษาอังกฤษ ให้คล่อง

7. เรียนรู้ มารยาทในการสนทนา เบื้องต้น

เป็นสิ่งที่ดี ในการเรียนรู้ มารยาทในการสนทนา เบื้องต้น การไปสัมภาษณ์งาน เพราะเราจะได้รู้ ว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เผื่อ เป็น ไอเดีย ในการวางตัว ระหว่างสัมภาษณ์งาน

มารยาทในการสนทนา ระหว่าง สัมภาษณ์งาน

  1. ควรสบตา กรรมการ ระหว่างที่ สัมภาษณ์งาน
  2. ควร ยิ้ม ให้ กรรมการ ระหว่างที่ สัมภาษณ์งาน
  3. อย่าพูดแทรก ระหว่างที่ กรรมการสัมภาษณ์งาน กำลังพูดอยู่
  4. พยายาม จำชื่อ กรรมการให้ได้ เมื่อต้องการกล่าวถึง กรรมการ
  5. อย่าลืม ปิดเสียงโทรศัพท์ และ ปิดระบบสั่น ก่อน เข้า ห้องสัมภาษณ์
  6. อย่า นั่งกระดิกขา เขย่าตัวไปมา
  7. อย่า นั่งห่อเหี่ยว หลังไม่ตรง หรือ กอดอก
  8. ควร ตั้งใจฟัง สิ่งที่กรรมการพูด
  9. อย่า เหลือบตาไปมอง นาฬิกา ว่าจะหมดเวลารึยัง
  10. อย่า เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือ ลูกอม ในปาก ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์งาน

8. พัฒนา บุลิกภาพ และ ทัศนคติ ให้พร้อมก่อนไปสัมภาษณ์งาน

ทัศนคติ และ บุคลิกภาพ ที่ดี เป็น เครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่งว่า คุณสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้หรือไม่

ซึ่ง เป็น อาจจะเรียกได้ว่า บุคลิกภาพ และ ทัศนคติ อาจจะเป็น หัวใจ ของ การสัมภาษณ์งาน เลยก็ว่าได้ เพราะ บริษัทต้องการที่จะรู้จัก ตัวตนที่แท้จริงของคุณ ว่า คุณมอง โลกอย่างไร มีความคิดในแง่บวกไหม ความคิด และ ทัศนคติของคุณ ตรง กับ ปณิธาน หรือ วิสัยทัศน์ ขององกรณ์ หรือไม่  อ่านต่อ : เรียนรู้ พัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อการทำงาน

9. เข้าใจ กระบวนการสัมภาษณ์ ก่อน ไปสัมภาษณ์งาน

กระบวนการสัมภาษณ์งาน คือ ขั้นตอนการสัมภาษณ์ ของแต่ละ บริษัท หรือ สายงาน จะมี ขั้นตอน และ กระบวนการสัมภาษณ์งานที่ ค่อนข้างแตกต่างกันไป โดย เรา จะทราบเพียงคร่าวๆ เท่านั้นว่า จะต้องเจอกับอะไรบ้าง แต่ โดยทั่วไปแล้ว การสัมภาษณ์งาน จะเริ่มต้น ด้วยการสัมภาษณ์พูดคุยเรื่องทั่วๆ ไปก่อน ขั้นตอนถัดมา จะเป็นการวัดความสามารถต่างๆ เช่น การทำข้อสอบ การทำแบบฝึกหัด เหมือนเป็น การสอบ วัดระดับ ความรู้ และ ความสามารถ ขึ้นอยู่กับ บริษัทนั้นๆ จากนั้น เป็นรอบๆ ไป และ ก็จบการสัมภาษณ์ หรือ บางงาน อาจจะมี การสัมภาษณ์เดี่ยว หรือ การสัมภาษณ์กลุ่ม เป็น การอภิปราย หรือ Group Discussion แล้วถึงจะ จบการสัมภาษณ์งาน

ขั้นตอน กระบวนการสัมภาษณ์งาน กับ บริษัท

  • ขั้นตอนที่ 1 เมื่อไปถึงบริษัท : ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัท ด้านหน้า ว่า มาสัมภาษณ์งาน ตำแหน่งอะไร กับใคร กี่โมง
  • ขั้นตอนที่ 2 รอหน้าห้องสัมภาษณ์งาน : นั่งรอ ในที่ที่บริษัท จัดเตรียมไว้ให้ ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์
  • ขั้นตอนที่ 3 เข้าห้องสัมภาษณ์ : เปิดประตู เข้าไปนั่ง ยังเก้าอี้ที่ว่างอยู่ เพื่อ เริ่มสัมภาษณ์
  • ขั้นตอนที่ 4 เริ่มต้น สัมภาษณ์ : กรรมการอาจจะเริ่มแนะนำตัว หรือ ให้เราแนะนำตัวเอง
  • ขั้นตอนที่ 5 เข้าสู่ เนื้อหาการสัมภาษณ์ : กรรมการจะเริ่ม ถามคำถามสัมภาษณ์งาน ที่เกี่ยวข้องกับ ตำแหน่งงาน
  • ขั้นตอนที่ 6 ให้ ทำแบบทดสอบ : แบบทดสอบภาษาอังกฤษ หรือ การตอบคำถามจิตวิทยา ปัญหาเชาว์ เป็นต้น
  • ขั้นตอนที่ 7 ให้ ทำสัมภาษณ์กลุ่ม : หรือ Group Discussion ให้จับกลุ่มเล็กๆ อภิปราย หัวข้อต่างๆ
  • ขั้นตอนที่ 8 ให้ ทำ กิจกรรม : มีหัวข้อมาให้และ ให้ทำกิจกรรมตามหัวข้อเหล่านั้น เช่น การพูด Public Speaking
  • ขั้นตอนที่ 9 ทำ สัมภาษณ์เดี่ยว : จะเป็นเรานั่ง 1 คน กับกรรมการ 2-3 คนขั้นไป ถามคำถามเราในเรื่องต่างๆ
  • ขั้นตอนที่ 10 จบการสัมภาษณ์ : เชิญให้กลับบ้าน และ จะส่งผลการสัมภาษณ์ตามมา ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง

คือ ตั้งแต่ ขั้นตอนที่ 6 เป็นต้นมา เป็น กระบวนการสัมภาษณ์งาน ที่ ค่อนข้างท้าทาย มักจะเกิดขึ้น กับสายงานที่ คนสมัครเยอะ แต่ รับคนเข้าไปทำงานจำนวนน้อย แต่ ส่วนใหญ่ ไม่ได้ โหด ขนาดนี้หรอกนะคะ

10. กลับไปอ่าน Job Description หรือ ใบประกาศรับสมัครงาน อีกรอบ

สิ่งที่เราควรกลับไป อ่าน และ ทำความเข้าใจอีกครั้งกับ ใบประกาศรับสมัครงาน เพื่อ ทบทวนว่า บริษัท ต้องการคนแบบไหน มีทัศนคติ อย่างไร เพื่อ ที่เราจะได้ ดึงศักยภาพ ของตัวเอง ที่เคยทำมา ได้สอดคล้อง กับ ตำแหน่งงานที่จะสมัคร และ ถ้าใน ประกาศรับสมัคร งาน มีการ ระบุ ความสามารถพิเศษ ทักษะพิเศษ ต่างๆ ถ้าเรามี สิ่งต่างๆ เหล่านั้น ก็จะได้ ไม่ลืม ที่จะหยิบยก ออกมา พูด ระหว่าง สัมภาษณ์งานได้ เพื่อ เพิ่ม จุดเด่น จุดแข็ง ให้กับตัวเอง เวลา สัมภาษณ์งาน

ระหว่างสัมภาษณ์งาน จงจำ เทคนิคการสัมภาษณ์งาน เหล่านี้ให้ขึ้นใจ

10. ทักทายผู้เข้าสัมภาษณ์ อย่างยิ้มแย้ม

สิ่งแรกที่เราสามารถสร้างความประทับครั้งแรก กับผู้เข้าสัมภาษณ์ นั่นก็คือ การกล่าวทักทาย “สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ” หรือ “Good morning/afternoon, Sir/Madam” พร้อมกับรอยยิ้มที่ยิ้มแย้ม และเป็นมิตร

บางครั้งอาจจะมีการพูดคุยเล็กๆ ที่เรียกว่า (Small Talk) ซึ่งกรรมการ จะเริ่มต้นถามคุณ

ตัวอย่าง บทพูดคุยเล็กๆน้อยๆ ก่อนเริ่มต้นสัมภาษณ์งาน

  • สบายดีไหม ครับ How are you? : เราก็ควรตอบไปว่าเราสบายดี (ถึงแม้ว่าวันนั้นคุณอาจจะรู้สึกไม่สบายก็ตาม)
  • เดินทางมาด้วยวิธีอะไร How did you get here?
  • คุณทานอะไรมารึยัง จะทานน้ำหรืออะไรก่อนไหม ก่อนที่จะเริ่มต้นสัมภาษณ์ (Would you like to sip some water before we proceed the interview?)

11. ฝึกตอบคำถาม จุดอ่อน จุดแข็ง ของคุณคืออะไร ในการสัมภาษณ์งาน

ก่อนที่จะไปสัมภาษณ์งาน เราควรที่จะนั่ง List ข้อดี และ ข้อเสีย ของตัวเอง ออกมา ให้ได้ อย่างละเท่าๆกัน เพราะ คำถามสัมภาษณ์งาน ส่วนใหญ่ จะหนีไม่พ้น คุณคิดว่าคุณมีข้อดีข้อเสีย อะไรบ้าง หรือ ให้เราบอก ข้อดีของตัวเอง ออกมาว่า ทำไม บริษัทถึงอยากจะเลือกคุณเข้าไปทำงาน สิ่งเหล่านี้ ถ้าเราไม่เตรียมไปก่อน หรือ ไม่ได้ คิดไปก่อน อาจจะทำให้ คุณ อ้ำๆ อึ้งๆ ได้ ว่าจะตอบว่าอะไร

หรือ แม้แต่ อาจจะพูดข้อเสีย ของตัวเอง ออกไป แบบที่ ไม่ควรพูด ก็ได้ ดังนั้น อย่าลืมนั่งหา ข้อดีข้อเสีย ของตัวเองออกมาให้ได้ หาตัวอย่างได้ที่นี่ [ตัวอย่างข้อดีข้อเสีย ของตัวเอง สัมภาษณ์งาน ที่ไม่ทำให้คุณดูแย่]

12.อย่าลืมระวังเรื่องภาษากาย

ภาษากาย สัมภาษณ์งาน ของเรา อาจจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ว่าเราประหม่า หรือ กังวล มากเกินไปได้ ดังนั้นเราควรตระหนัก และ ระมัดระวัง ในเรื่องของภาษากาย ในขณะที่สัมภาษณ์งานด้วย

ภาษากาย หรือ Body Language คือ การแสดงออกทางด้านร่างกาย ภายใต้จิตใต้สำนึก โดยที่เราไม่รู้ตัว ว่าทำสิ่งเหล่านั้น

ซึ่ง สามารถทำให้คนรอบข้าง หรือ ผู้เข้าสัมภาษณ์ถอดรหัสได้ว่า เรากำลังรู้สึกกังวล หรือ ไม่สบายใจอะไรอยู่ เช่น

  • การวางมือ
  • การเขย่าขา
  • การมองต่ำลงพื้นโดยไม่จำเป็น
  • การพูดไป มองเพดาดานไป
  • การนั่งกอดอก

สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เราเอง อาจจะทำโดยไม่รู้ตัวได้

วิธีการแก้ คือ ให้จำลองสถานการณ์ จริง ว่ามีกรรมการอยู่ตรงหน้า และถามคำถามสัมภาษณ์งานอยู่ และ ลองถ่ายวีดีโอ ดูตัวเองว่า เรามี ภาษากาย ที่ควรระมัดระวังตรงไหนบ้าง

13.ฟังคำถามให้ดี ตอบให้ตรงประเด็น พร้อมตัวอย่าง

บางครั้ง เวลาที่เรากำลังสัมภาษณ์งานอยู่ เรามักจะมีความกังวลหลายๆอย่าง เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ จนไม่ได้ตั้งใจฟังคำถาม ของผู้สัมภาษณ์ที่อยู๋ตรงหน้า และ จับจุดไม่ได้ว่า เค้ากำลังถามเราว่าอะไรอยู่ ดังนั้น น้องควร ตั้งใจฟังให้ดี ว่าเค้าถามอะไร

แล้ว พยายามตอบให้ตรงประเด็น พร้อมยกตัวอย่างซักเล็กน้อย แต่ อย่าให้ยืดยาว จนกรรมการจับประเด็นไม่ได้ว่า ตกลงจะตอบว่าอะไร

14. รู้ทัน คำถามลวง

คำถามลวง มักจะมาในรูปแบบ คำถามสัมภาษณ์เชิงจิตวิทยา เพื่อวัดทัศนคติ และ อุดมการณ์ ในการทำงานของคุณว่า คุณเหมาะสมหรือไม่ที่จะทำงานกับบริษัทเค้า หรือ คุณมี Mission ในการทำงานที่สอดคล้องกับ Mission ของบริษัท มากแค่ไหน

ยกตัวอย่างคำถามลวง เช่น เราต้องการไปทำงานบริษัทนานาชาติ ที่มีพนักงานจากหลากหลายชาติทั่วโลก แล้วกรรมการถามว่า

Question : คุณชอบทำงานกับเพื่อนๆ ชาติไหน มากที่สุด
แล้ว ถ้าคำตอบของเรา ตอบระบุเชื้อชาติไป หล่ะ ก็
>>> รับรองว่า เค้าไม่รับ แน่นอน

เพราะ ว่า เค้าต้องการคนที่ทำงานได้กับ เพื่อนๆ ทุกชาติ ดังนั้น เราต้องรู้ทันคำถามเหล่านี้

ถ้าอยากรู้ทันคำถามเหล่านี้ เราก็ต้องติดอาวุธ ให้ตัวเองด้วยการที่ต้องเรียนรู้วิธีการตอบคำถาม พร้อมทั้งตัวอย่างว่า อะไรควรตอบ อะไรไม่ควรตอบ ให้ได้มากที่ สุด ซึ่ง หนังสือ 109 คำถาม และ คำตอบ ที่ยาก และ ถามบ่อยที่สุด สามารถช่วยให้คุณ รู้ทันคำถามลวง เหล่านี้ค่ะ

15. รักษาความเป็นมืออาชีพ

ในขณะที่สัมภาษณ์งาน เราควรที่จะ รักษาความเป็นมืออาชีพ เอาไว้อยู่เสมอ ความเป็นมืออาชีพในที่นี้ หรือ Professional Manner คือ การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เวลาตอบคำถาม ไม่ทำตัวเป็นเพื่อน กับกรรมการ ให้วางตัว นิ่ง สุขุม แต่ ก็สามารถขำ หรือ ตลกได้ แต่ก็ต้องรักษา ลุคของเราด้วย ว่าเรากำลังมาสัมภาษณ์งานอยู่

ยิ่งตำแหน่งที่เราสมัคร เป็นตำแหน่งที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ เช่น ตำแหน่ง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน / ตำแหน่งหัวหน้างาน / ตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องติดต่อสื่อสารกับลูกค้า จำเป็นอย่างมากที่จะต้องรักษาความเป็นมืออาชีพ อยู่เสมอ

16. อย่าลืมขอบคุณ ผู้สัมภาษณ์

หลังจากที่เราสัมภาษณ์งานเสร็จแล้ว เราก็อย่าลืมที่จะ ขอบคุณกรรมการด้วย ที่สละเวลามาคุยกับเรา นี่เป็นสิ่งที่ผู้เข้าสัมภาษณ์ควรที่จะไม่ลืม ที่จะแสดงออกถึง ทัศนคติที่ดี เหล่านี้ ไม่ว่าจะองกรณ์ ฝรั่ง หรือ ไทย รับรองว่า บริษัทเค้าก็ต้องการคนที่นอบน้อม และ คิดถึงใจคนอื่น เสมอ ค่ะ

17. เทคนิคสัมภาษณ์งาน สำคัญที่สุด คือ อย่าจำคำตอบไปตอบ

นี่เป็นหนึ่งความผิดพลาด ที่ผู้คนมักจะทำกัน คือ พยายามอ่านคำถาม และ จำคำตอบไปตอบ หรือ ลอกคำตอบมาจากอินเตอร์เน็ต โดยที่ ไม่ได้ตอบตามความจริง หรือ ไม่เป็นตัวของตัวเอง

สิ่งที่ดีที่สุด ในการตอบคำถาม ไม่ใช่การจำคำตอบ แต่เป็นการเรียนรู้ วิธีการในการตอบคำถาม เรียนรู้หลักการเป็นตอบ

เมื่อเรารู้หลักการแล้ว ไม่ว่าเราจะเจอคำถามที่ยาก หรือ หินสักเพียงไหน เราก็สามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า คำตอบของเราจะไปซ้ำใคร

ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า เทคนิค STEP

18. ทำความเข้าใจ บริษัทญี่ปุ่น/ไทย vs บริษัทฝรั่ง/ตะวันออกกลาง

นี่เป็นอีก เทคนิค และ วิธี หนึ่ง ในการสัมภาษณ์งานคือ เราต้องรู้จัก Nature ของบริษัท ให้ดีด้วยว่า เรากำลังจะไปสัมภาษณ์งานองกรณ์ แบบไหน ระหว่าง ไปสัมภาษณ์งานบริษัทญี่ปุ่น บริษัทไทย บริษัทฝรั่ง มีความแตกต่างกันอยู่

ยกตัวอย่างเช่น

บริษัทญี่ปุ่น :

มีความเป็นเอเชียสูง มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ชอบคนที่มีความอดทน (เช่นระบบทำงานล่วงเวลา) มีความอ่อนน้อมถ่อมตน

บริษัทฝรั่ง :

ชอบคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าพูดในสิ่งที่ตนคิด กล้าคิดการทำ กล้ายอมรับผิด พูดภาษาอังกฤษได้ฉะฉาน ทำงานตามระบบผลงาน ไม่ใช่ระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง

บริษัทตะวันออกกลาง :

ต้องการคนที่เคารพกฏศาสนาของเค้า กล้าคิดกล้าทำ สนุกสนาน มีความเป็นผู้นำ

19. ไปให้ถึง สถานที่สัมภาษณ์ ล่วงหน้าก่อนเวลา

เราควรที่จะ วางแผน การเดินทางให้ดี ว่าจะใช้การเดินทาง วิธีใด ให้ไปถึง สถานที่สัมภาษณ์งาน ได้อย่าง ล่วงหน้า อย่างน้อย ครึ่ง ชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้ มีเวลาให้การ ผ่อนคลาย มีเวลาไป เช็คความเรียบร้อย ของตัวเองในห้องน้ำ หรือ นั่งดื่มกาแฟ แก้ง่วง ก่อนเข้าไปในห้องสัมภาษณ์

20. เทคนิคไปสัมภาษณ์งาน สุดท้าย คือ อย่ายอมแพ้ 

เทคนิคการสัมภาษณ์งานสุดท้าย ที่พี่อยากจะฝากไว้คือ

การอย่ายอมแพ้ – Don’t Give Up !

ถึงแม้ว่าน้องๆ จะพยายามไปสัมภาษณ์งาน หลายๆที่ แต่ก็ไม่มีที่ไหนเรียก ก็คือให้เดินหน้าสมัครไปเรื่อยๆ ซึ่งแต่ละครั้ง ที่เราได้ไปสัมภาษณ์งานจริงกับบริษัท จะทำให้น้องๆ ได้ฝึกการพูดสัมภาษณ์งาน

การที่น้อง ไม่ได้รับการตอบรับ ไม่ได้หมายความว่าน้องไม่ดีพอ ขอให้พยายามต่อไป โดยเฉพาะ น้องๆที่ไปสัมภาษณ์งานที่มีการแข่งขันสูงๆ อย่างเช่น การสัมภาษณ์แอร์โฮสเตส และ สจ๊วต เป็นต้น

ให้เอาประสบการณ์เหล่านั้นมาพัฒนา ตนเอง และ พี่เชื่อว่าทุกคนทำได้ ถ้าน้องๆได้นำเทคนิคการสัมภาษณ์งาน เหล่านี้ไปใช้ในการสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป โชคดีนะคะทุกคน

แจก 50 คำถามสัมภาษณ์งาน ฟรี

โปรดเช็ค อีเมล ของคุณ

โปรดรอ อีเมล ภายใน 10 นาที