สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน 15 เหตุผล เพราะอะไร
สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน ไปสัมภาษณ์งาน มา แล้ว ไม่ได้รับการติดต่อ กลับจากบริษัท ก็รู้แล้วว่า ไม่ผ่านสัมภาษณ์งาน ซึ่ง ถ้าน้องๆ เป็นหนึ่งในนั้น ก็ควร ลองหัน กลับมาทบทวน และ ถามตัวเองว่า เผลอ ทำ อะไรไปรึเปล่า ที่น้องไม่รู้ตัว และ อาจจะ ส่งผล ทำให้ ไม่ได้งาน จากบริษัท
มาดูกัน ที่ สาเหตุ หรือ เหตุผล ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน ที่รู้แล้วจะอึ้ง ว่า สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้แหละ ที่น้องๆ อาจจะ มองข้ามไป ก่อนที่จะไปสัมภาษณ์
1. สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะ ไม่เตรียมตัวให้ดี
สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะ เตรียมตัวไปไม่ดี หรือ เตรียมไปไม่พร้อม กับการสัมภาษณ์งาน มักจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ทำให้ น้องๆหลายคนตกรอบ ไม่ผ่านสัมภาษณ์นะคะ การไปสัมภาษณ์ไม่ใช่การไปนั่งตอบคำถาม เกี่ยวกับ ประวัติส่วนตัวเท่านั้น นะคะ แต่ จะต้องทั้งตอบ และ โชว์จุดเด่น จุดแข็ง ละ ศักยภาพ ของเรา ในทุกๆ คำถามที่กรรมการถาม โดยกรรมการ จะถามจาก เรซูเม่ ของ น้องๆ แล ถามต่อ จาก สิ่งที่น้องตอบ
ดังนั้น ถ้าไม่เตรียมตัวไปให้ดี ก็จะทำให้ น้องๆ ไม่รู้ทัน คำถามสัมาษณ์งาน และ ไม่รู้จะตอบ ยังไง
สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะ แนะนำตัวเอง ไม่ดี
ซึ่งตรงนี้หล่ะค่ะ ที่จะต้องฝึก ไปอ่านต่อ ตัวอย่างบทสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ ที่นี่
ดังนั้นน้องๆคะ จงเตรียมตัวไปให้ดีนะคะ โดยเฉพาะ การแนะนำตัวเอง ซึ่งมักจะโดนถามกันทุกคน
ตัวอย่าง แนะนำตัว สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ การตอบคำถามสัมภาษณ์งาน หรือไปตามดาวน์โหลด คำถามสัมภาษณ์งาน 151 ได้ที่นี่
2. ไม่ศึกษาหาข้อมูลประวัติบริษัท
ก่อนจะไปสัมภาษณ์งาน น้องๆ ก็จะต้อง ศึกษา หาข้อมูล เกี่ยวกับ บริษัทก่อน ซึ่ง น้องๆ ควรรู้ว่า บริษัท มีบริการอะไรบ้าง มีผลิตภัณฑ์ แบบไหน มุ่งเน้น ลูกค้ากลุ่มใด มีประวัติ ยาวนาน มาแล้วกี่ปี มีกี่สาขา และ บริษัท แม่ ทำอะไร บริษัท ในเครือ มีอะไร
ข้อมูล พื้นฐาน เกี่ยวกับ บริษัท เหล่านี้ น้องๆ จะต้องรู้ เพราะแสดงถึง การเตรียมตัว ความใส่ใจ ความกระตือรือร้น ที่ต้องการเข้าไปทำงาน กับบริษัทนั้นๆ เวลา กรรมการ ถามคำถามเชิงลึก แล้ว น้องตอบได้ ถือ เป็น สิ่งที่โดดเด่นและ น่าประทับใจ มากๆ ค่ะ
บริษัทไม่ได้มองหาแค่คนที่มีความสามารถตรงความต้องการเท่านั้น แต่ยังต้องการคนที่สามารถบอกถึงความเข้าใจในวัฒนธรรมขององค์กรและหน้าที่ของตำแหน่งที่คนๆนั้นสมัครเข้ามาได้ ซึ่งเราจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องนี้ก่อนถึงจะเข้าทำงานได้นะคะ
วิธีการหา ข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติบริษัท คือ
หาในหน้าเว็บไซต์ ของบริษัท ในส่วนของ About us/ History/ What we do Page
ให้ค้นหาชื่อของบริษัทนั้นใน google และหนึ่งในนั้นจะมีเว็บไซต์หรือ facebook Fanpage ของบริษัทอยู่ ให้ลองเข้าไปสำรวจบริษัทดูว่าเขามีอะไรเด่นๆหรือมีประเด็นเรื่องอะไรอยู่บ้างไหมช่วงนี้
3. เรซูเม่ ไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่จะสมัคร
อีกสิ่งหนึ่งที่ หลายๆคนพลาด คือ การส่งเรซูเม่ ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ จะสมัคร บางครั้ง น้อง อาจจะทำกิจกรรม มาหลายสิ่ง หลายอย่าง แต่ว่า สิ่งเหล่านี้ ไม่ ได้เกี่ยวข้องกับ งานที่กำลังจะสมัคร น้องก็ไม่จำเป็นจะต้อง ใส่ข้อมูล เหล่านั้น ลงไปในเรซูเม่
วิธีแก้ คือ น้องๆต้องอ่านรายละเอียดรับสมัครงานให้ดีๆ อ่านให้ดใน ประกาศรับสมัครงาน ว่า บริษัท ต้องการคนแบบไหน มีความสามาระ พิเศษ อะไร ในการทำงาน ต้องทำโปรแกรม อะไรเป็น ต้อง มีผล คะแนนโทอิค อยู่ใน ระดับไหน สิ่งเหล่านี้ เป็นตัว ชี้แนะ ว่า น้องควรใส่ อะไร ลงไป ใน เรซูเม่ นเตะ
ปรึกษา แอร์แขก ให้ช่วยวิเคราะห์ เรซูเม่ และ ดึงจุดเด่น ของน้อง ออกมา
4. เอกสารสัมภาษณ์งานอื่นๆไม่ครบ
หลายคน ตกรอบ สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพียง เพราะวันที่ไป สัมภาษณ์ เอกสาร ไม่ครบ นอกจากการเตรียมแฟ้มผลงาน เตรียม เรซูเม่ และ เตรียมตัวให้สัมภาษณ์แล้ว ยังมีเอกสารสำคัญอื่นๆที่ต้องใช้ประกอบกับใบสมัครด้วยนะคะ อย่างเช่น
เอกสารประกอบการสัมภาษณ์งานอื่นๆ
- Resume เรซูเม่ / CV ที่เขียนสำหรับสมัครงานกับ บริษัท นั้นๆ โดยเฉพาะ
ตัวอย่าง CV - รูปถ่ายสมัครงาน Full Length Photograph/Passport Sized Photograph
ตัวอย่าง รูปถ่ายสมัครงาน - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน Personal ID
- สำเนาทะเบียนบ้าน Household Registration
- สำเนาใบขับขี่ Driving License
- ใบทรานสคริป (กรุณาขอ มหาลัยมาเป็น ภาษาอังกฤษ) Transcript
อ่านรายละเอียด เอกสารสมัครงาน ต่างๆ
ซึ่งเอกสารเหล่านี้มักจะเป็นปัญหากับน้องๆที่เพิ่งเคยสมัครงานครั้งแรก หรือ เด็กจบใหม่ เพราะ มันจะเยอะไปหมด สิ่งที่ต้องเตรียม จัดการเวลาไม่ถูก อาจจะเตรียมไม่ครบบ้างอะไรบ้างหรือรีบจนลืมถือไปกับตัว ซึ่ง ขอบอกก่อนนะคะว่า มีน้องๆ หลายคน ไม่ผ่านสัมภาษณ์งาน ก็เพราะ เอาเอกสารไปไม่ครบ
จะไปยืนร้องไห้ เกาะโต๊ะ ลงทะเบียน บริษัทก็ไม่สนใจนะคะ เพราะนั่นก็ความรับผิดชอบ ของ น้อง ดังนั้น
อ่านอีเมล ให้ดีว่า เค้าต้องการให้เรา พกอะไรไปบ้าง อย่าไปตกรอบ ตรวจเอกสาร นะคะ
วิธีแก้:
อ่านอีเมลให้ดี : คือให้อ่านรายละเอียด สิ่งที่บริษัท ขอให้เอาไป ในวันสัมภาษณ์งาน ให้ดี อ่านให้ละเอียดจะได้รู้ว่าเราต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง และ เอาไปกี่ฉบับ
เตรียมก่อนวันสัมภาษณ์ :อยากให้เริ่มเตรียมตัวช้าสุดคือ 2 วันก่อนไปสัมภาษณ์นะคะ น้องๆจะได้ไม่ต้องรีบร้อนเกินไปและหากมีอุบัติเหตุอะไรจะได้แก้ไขได้ทันค่า
ให้เพื่อนช่วยตรวจ : บางทีเราอาจจะ อ่านอีเมล และ ตีความหมายเข้าใจผิดได้ว่าเอ้ย ต้องใช้เอกสารตัวนี้ แต่จริงๆ คืออ่านผิด ถ้ามีเพื่อนช่วยอ่านจะดีมาก ค่ะ
5. ตอบไม่ตรงคำถาม
การตอบไม่ตรงคำถาม มักจะเป็นสิ่งที่ กรรมการจะไม่ชอบ และ มักจะตัดบท น้องๆ เลย และบอกว่า “ขอบคุณที่มาสัมภาษณ์ และ บอกว่าจะติดต่อกลับไป” ถ้าเจอแบบนี้ ขอให้ทำใจว่า ตกรอบ นะคะ ดังนั้น เวลา กรรมการ ถามคำถามอะไร ฟังให้ดี และ ตอบให้ตรง
กรรมการถาม What ตอบ What
กรรมการถาม How ตอบ How
กรรมการถาม จงเล่าประสบการณ์ … ก็ตอบประสบการณ์ …
การตอบไม่ตรงคำถาม คือ ตอบอะไรที่เย่อเย้อ ฟังเท่าไหร่ ก็ไม่จบสักทีนี่ย
เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ นะคะ เพราะ กรรมการจะมองว่า ทำไมไม่เข้าใจคำถาม เราตีโจทย์ ไม่แตก รึเปล่า ยิ่งการสัมภาษณ์ ภาษาอังกฤษ ยิ่งแล้วใหญ่ จะทำให้น้อง ดูฟังภาษาอังกฤษ ไม่ได้ บางทีอาจจะใจดี ทวนคำถามให้ หรือ ผู้เข้าสมัครว่า เธอเข้าใจผิดรึเปล่า ฉันหมายถึง ….
แต่บางที่ ผู้เข้าสมัครเยอะ ตัวเลือกเยอะ เค้าจะตัดบทเรา และ พูดขอบคุณทันทีนะคะ
วิธีแก้: คือบางทีอาจจะอยู่ที่มุมมองต่อคำถามของแต่ละคนไม่ตรงกันก็ได้ แต่ถ้าเราทำการบ้านเกี่ยวกับคำถามท่ใช้สัมภาษณ์มาสักหน่อยก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้นะคะ
6. มาเลท มาไม่ตรงเวลา
ไม่ผ่านสัมภาษณ์งาน เพราะมาเลท เกิดขึ้นจริง เพราะถือว่าเรา เป็นคน ไม่มีความรับผิดชอบ หรือ Responsibilities ขนาดยังไม่ได้มาทำงาน มาสัมภาษณ์ ยังมาช้า บริษัท ก็อาจจะตีความไปได้ ว่าน้อง ขาดความรับผิดชอบ และ ถ้าน้องยิ่งบอกเหตุผล ว่าทำไมถึงมาช้า โดยการโทษนั่นโทษนี่ ยิ่งดูแย่ นะคะ เพราะ จะแสดงให้เห็นว่า น้องเป็นคน มีแต่ข้ออ้าง Full of Excuses
ดังนั้นข้อนี้สำคัญมากๆเลยนะคะน้องๆ โดยเฉพาะถ้าน้องๆไปสมัครบริษัทของต่างประเทศแล้วด้วย เรื่องนี้อาจจะไม่ได้แสดงถึงความไม่มีความรับผิดชอบอย่างเดียว เพราะเขาจะมองว่าเราไม่ให้เกียรติเวลาของเขาที่ต้องมานั่งรอคุณให้มาสัมภาษณ์ เผลอๆเขาจะไม่ให้สัมภาษณ์เอาด้วยนะคะ
วิธีแก้: ส่วนมากจะเกิดปัญหากับสัมภาษณ์ที่จัดขึ้นช่วงเช้า สำหรับใครที่เป็นคนตื่นยาก แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกไว้หลายๆครั้งค่ะ หรือให้คนโทรมาปลุกเราก็ได้ค่ะ แต่อย่าวางสายเสร็จแล้วหลับต่อน้า ให้เค้าอยู่คุยกับเราจนแต่งตัวเสร็จไปเลยค่า! และแนะนำว่าควรไปถึงก่อนประมาณ 15 นาทีเผื่อหาห้อง หาอาคารไม่เจอด้วยน้า
7. ไม่แสดงความกระตือรือร้นว่าอยากจะมาทำงาน
หลายๆคน สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะ ขาดความกระตือรือร้น หรือ Egaer Want ที่แสดงออก ว่า สนใจ ชอบ อยากได้ อยากเข้าไปทำงานกับบริษัท ทั้งทางการแสดงออกทางภาษากาย สีหน้า และ การตอบคำถาม ของน้องๆ
ดังนั้น ระหว่างที่เราตอบคำถามสัมภาษณ์งาน เราควรที่จะ เลือกใช้คำพูด หรือ แสดงออกให้กรรมการ รู้สึกว่า เราตื่นเต้น และ อยากที่จะทำงานในตำแหน่งนี้ กับ บริษัทของเขา
โดยกรรมการจะวัดได้จาก
- การกระทำของเรา เช่น มาตรงนัด ไม่เลื่อนนัดสัมภาษณ์งาน
- การตอบคำถามว่า ทำไมถึงอยากมาทำงานที่นี่
- ทำไมถึงชอบงานนี้
- การเลือกใช้คำศัพท์ ในการตอบ
- การท่าทางของเรา
สิ่งเหล่านี้ สามารถสื่อได้ว่าเรามีความกระตือรือร้นอยากทำงานนี้มากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างของคนไม่กระตือรือร้นก็คือ ไม่ยิ้มแย้ม ถามคำตอบคำ พอให้พูดทำไมถึงอยากทำงานตำแหน่งนี้ ทำไมถึงอยากทำงานที่นี่ ก็ตอบไม่ได้ ตอบคำถามสั้นๆผ่านๆไม่มีอารมณ์ร่วม ตอบไม่ชัดถ้อยชัดคำ นั่งตัวงอ ถึงจะง่วงนอนยังไงก็อย่าเผลอทำท่าทางแบบนี้เชียวน้า
วิธีแก้ไข: อย่างแรกเลยต้องรวบรวมแพชชั่นในการอยากเข้าทำงานที่นั่นมาเป็นพลังใจเยอะๆ อย่างที่สอง ต้องยิ้มแย้ม ตอบคำถามด้วยเสียงดังฟังชัด และนั่งหลังตรงนะคะ จะช่วยให้เราดูกระตือรือร้นขึ้นมาเล้ย
8. แต่งตัวไม่เหมาะสม
สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน เพราะ แต่งตัวไม่เหมาะสม เป็นสิ่งที่น่าเสียดายมายๆ เลยค่ะ แต่ก็เป็นสิ่งที่หลายๆคน ไม่ได้ให้ความสำคัญ การแต่งตัวให้เหมาะสม ก่อนไปสัมภาษณ์งาน คือเป็น หนึ่งใน Check list ที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นเลยค่ะ
เพราะจะแสดงให้เห็นว่าเรารู้จัก มารยาททางสังคมดี แค่ไหนด้วยนะคะ การที่เราจะ ใส่ชุดเล่น หรือ ชุดแฟชั่นไปนี่ ยกเว้นว่าเราจะไปออดิชั่นเป็นไอดอลน่ะนะคะ อิอิ
วิธีแก้: การแต่งกายไปสัมภาษณ์ที่ดีต้องเป็นชุดที่ดูสุภาพเรียบร้อย นั่นก็คือเสื้อสีพื้นแขนยาวกับกระโปรงที่ยาวถึงเข่า กางเกงขายาวไม่แต่งขาด และรองเท้าหุ้มส้นนะคะ เรื่องทรงผมก็ต้องมัดรวบให้เรียบร้อย ส่วนผู้ชายก็ควรจะโกนหนวดก่อนไปเจอกรรมการนะคะ และอย่าลืมเรื่องกลิ่นตัวด้วยน้า ซึ่งการแต่งกายนี้ในบางองค์กรจะมีระเบียบการแต่งกายไปสัมภาษณ์ระบุไว้ด้วย น้องๆต้องลองอ่านให้ครบถ้วนน้า
อ่านต่อ ชุดสูทสมัครงาน
อ่านต่อ มารยาทในการสมัครงาน
อ่านต่อ บุคลิกภาพ ในการสมัครงาน
9. ยื่นเรซูเม่ไปมั่วๆ
หลายๆคน สมัครงานหลากหลาย ตำแหน่ง หลากหลาย บริษัท จะมานั่งแก้เรซูเม่ บ่อยๆ ก็ขี้เกียจ เพราะว่าเหนื่อย บ้างหล่ะ อะไรบ้างหล่ะ อันนี้พี่เข้าใจ
แต่ขอแอบบอกว่า ถ้าอยากได้งานดีๆ บริษัทที่เราอยากเข้าไปทำงาน น้องๆ ต้องแน่ใจว่า เรซูเม่ ที่ส่งไปนั้น ได้เขียนขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง ไม่ใช่ ใช้อันเดิม สมัครกับทุกตำแหน่ง เพราะบางทีเนาะ เราอาจจะลืม ในส่วนของ จุดมุ่งหมายในการทำงาน หรือ Career Objective เราอาจจะใส่ชื่อบริษัทนึงไป แต่ ดั๊นนน ยื่นผิด ไปยื่นของอีกบริษัทนึง
แบบนี้ บริษัทที่เค้าอ่านเรซูเม่ น้องเค้าจะรู้สึก ไม่ดีกับน้องได้นะคะ คะแนนความชอบน้องนี้ลดไปละ อาจจะติดลบด้วยเลย เพราะดูเหมือน คุณไม่ได้ ตั้งใจมาสมัครงานกับเรานี่ ใช่ป่ะ
วิธีแก้: ให้น้องๆถามตัวเองเป็นอันดับแรกว่าตัวเองชอบอะไร ถนัดอะไรหรืออยากทำงานด้านไหนที่สุด อยากทำกับบริษัทไหนสุด แล้วพุ่งเป้าหมายไปที่งานนั้น บริษัทนั้น อย่างเดียวเลยจะดีกว่านะคะ จะทำให้เรารู้ว่าต้องโฟกัสเรื่องอะไรและเตรียมตัวได้เต็มที่ แถมจะได้ฝึกตอบคำถามสัมภาณ์งานได้ ตรงประเด็นขึ้น ซึ่งจะทำให้กรรมการเห็นถึงความกระตือรือร้นจนอยากรับเราเข้าทำงานเลยล่ะค่า
10. วอกแวกง่ายระหว่างการสัมภาษณ์
บางคนอาจจะติดนิสัยมองโทรศัพท์ มองนาฬิกาหรือไม่มองคู่สนทนาระหว่างพูดคุย พี่อยากให้น้องค่อยๆเลิกทำพฤติกรรมเหล่านั้นนะคะ เพราะถึงจะไม่ได้อยู่ในการสัมภาษณ์แต่พฤติกรรมแบบนั้นถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติคู่สนทนานะคะ แล้วถ้าเผลอไปทำในห้องสัมภาษณ์ก็แย่เลยสิคะ กรรมการอาจจะมองเราในแง่ลบได้
วิธีแก้:ให้ความสนใจไปที่คำถามของกรรมการ เวลาพูดสบตา พยักหน้า เวลาที่พูดคุย กับกรรมการ เก็บโทรศัพท์เข้ากระเป๋า และ ปิดเสียงด้วย แม้แต่ระบบสั่น ก็ปิดไปเลยะนะคะ เวลาพูดกับกรรมการ อย่าได้สนใจว่าเวลาผ่านไปกี่นาทีแล้ว หรือ คอยมองเวลา นาฬิกาตลอด อารมณ์แบบ เมื่อไหร่จะเสร็จฟระเนี่ย อะไรแบบนี้ ไม่เอาน้าา
11. บุคลิกภาพไม่ดี
บางคนอาจติดนิสัยนั่งหลังงอ กระดิกเท้า นั่งถ่างขา หรือเวลากังวลชอบดึงผม กัดเล็บ เคาะโต๊ะ หรือถ้าตำแหน่งต้องการคนที่มีรูปร่างดี ส่วนสูงไม่น้อยเกินไปอย่างอาชีพแอร์โฮสเตส พนักงานขาย เป็นต้น เราอาจจะสัมภาษณ์ไม่ผ่านเพราะขาดคุณสมบัติด้านบุคลิกภาพหรือเผลอทำท่าทางที่ดูไม่ดีของเราออกไปก็ได้นะคะ
วิธีแก้: ก่อนไปสัมภาษณ์ให้ลองฝึกยืน ฝึกนั่งดูก่อนก็ได้นะคะ ลองสำรวจตัวเองก่อนว่ามีคุณสมบัติตรงกับที่ตำแหน่งต้องการไหม
12. ถามเรื่องเงินเดือนเร็วเกินไป
ถึงการถามเรื่องเงินเดือนไม่ใช่เรื่องที่ไม่ควรถาม เพราะเรามีสิทธิรู้เงินเดือนก่อนเข้าทำงานอยู่แล้ว เราจะได้ประเมินได้ว่าเราโอเคกับงานนั้นหรือไม่ แต่ว่าควรจะหาจังหวะที่ดีในการถามนะคะน้องๆ มิเช่นนั้นเราอาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับกรรมการและพลาดตำแหน่งงานดีๆไป
โดย เฉพาะ กับ การสัมภาษณ์งาน ในต่างประเทศ อย่างใน ประเทศ ฝรั่งเศส ที่การถามว่า ได้เงินเดือน เป็น เรื่องที่ ไม่เหมาะสม ใน วัฒนธรรม ของเค้า ดังนั้น น้องควร ศึกษา ไปให้ดีนะคะ ว่า บริษัท ที่น้องจะเข้าไปทำงานด้วยนั้น หัวหน้า หรือ วัฒนธรรม องกรณ์ เค้าเป็น อย่างไร
วิธีแก้: ไม่ควรถามเรื่องเงินเดือนตั้งแต่ช่วงแรกของการเข้าสัมภาษณ์ ควรหาข้อมูลเองว่า ถ้าต้องการสมัครตำแหน่งนี้ ระดับ Entry Level , Mid Level , Senior Level นั้น เค้าได้เงินเดือนกันเท่าไหร่ แต่ถ้าเปิดโอกาส ให้ถาม หรือ พูดถึงเรื่องเงินเดือน ขณะสัมภาษณ์ ก็สามารถถามได้ค่ะ
ต้อง ตัดสินใจ หน้างาน กฏคือ ถ้าเค้า พูดเรื่องเงินก่อน เราถึงจะพูดได้ ตามมารยาททางสัมคม
13. แสดงทัศนคติที่ไม่ดีเวลาตอบคำถาม
ถ้าเรามีทัศนคติไม่ดี อาจจะทำให้กรรมการคิดหนักแล้วว่าเราอาจจะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือเราอาจจะมีปัญหาในที่ทำงานได้ในภายหลัง ซึ่งคนส่วนใหญ่ ที่ไม่เคยซ้อมตอบคำถาม สัมภาษณ์งาน กับ อาจารย์ โค้ช หรือ ผู้เชี่ยวชาย มาก่อน ก็อาจจะทำให้ตกม้าตาย ตรงนี้ได้
เพราะ ไปตอบ อะไรไปที่ ไม่ควรจะตอบ โดยที่ไม่รู้ตัว ด้วยซ้ำว่า เอ้ย นั่นมันดูไม่ดี และ กำลัง โดนหักคะแนน อยู่ โดยเฉพาะ เรื่องที่ Sensitive (เรื่องละเอียดอ่อน) ทางวัฒธรรม การทำงาน การมองโลก จรรยาบรรณ ในการทำงานต่างๆ ซึ่งคำถามเหล่านี้ จะมาในรูป คำถามที่ ธรรมดาๆ เช่น
คุณชอบทำงานกับเพื่อนร่วมงานชาติใด มากที่สุด
คำตอบ “ ผมชอบทำงากับเพื่อนร่วมงานคนญี่ปุ่น มากที่สุดครั้ง เพราะว่า คนญี่ปุ่น เป็นคนที่มีระเบียง วางแผน ทำงาน อย่าง จริงจัง ทุ่มเท การทำงานสุดๆ ผมนี่ชอบมากเลย ถ้าได้ทำงานกับคนญี่ปุ่น“
ในสายตากรรมการ คือ แหะๆ เหรอ แต่ บริษัทเรา เป็น องกรณ์นานา ชาติอ่ะ ยูร์ มีทั้งคนญี่ปุ่น กับ คน จีน คนเกาหลี คนเยอรมัน อ่ะยูร์ แล้ว ชาติอื่น อ่ะ เค้าก็ดีนะยูร์
ตกรอบบบบบบ
อย่างเนี่ย อ่ะเข้าใจไหมคะ คือ เราชมเค้าแท้ๆ แต่ ไม่เข้าใจว่า เรากำลัง แสดงทัศนคติที่โลกแคบ อยู่ เพราะ ไม่ว่า เค้าจะมาจากชาติไหน คุณ ก็ควรที่จะ สามารถ ร่วมงานได้หมด
ดังนั้น คำตอบ ของเรา เหมือนจะดูดี แต่ บางที ไม่รู้ว่า สิ่งที่เราตอบไป มันดันไป กาเท กับ แนวิดอีกด้านหนึ่ง ซึ่ง ทำให้ น้องๆ ตกรอบ
วิธีแก้ เรื่องนี้คือ ควรจะหาคที่มีความรู้ และ ความเชี่ยวชาญ ด้านอาชีพ มาให้คำปรึกษษ
ปรึกษา แอร์แขก Career Consultation ให้น้อง ได้ผ่านสัมภาษณ์งาน เข้าไป ทำงานกับองกรณ์ ระดับ โลก ที่ ไลน์
14. แสดงท่าทีอยากได้งานจนขาดความมั่นใจ
การแสดงออกว่าเราอยากได้งาน สนใจในงานนี้จริงๆก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่หรอกน้า แต่บางคนอาจจะเผลอแสดงความอยากได้ออกไปมากจนดูไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่ง มันทำให้น้อง ดู ขาดความมั่นใจ ในตัวเอง เช่น
- พี่รับผมเถอะนะ ผมอยากได้งาน
- รับผมเถอะ ผมไม่มีงานทำมาแล้ว
- ผมไปสมัครงานมาหลายที่มากเลย รับผมเถอะ
การแสดงออกแบบ นี้ ไม่มีข้อดีอะไรเลย เพราะ มันไม่ได้ทำให้ บริษัท อยาก รับน้อง เข้าไปทำงาน แต่ กลับตั้งำถามว่า ทำไม เด้กคนนี้ ถึงดูอยากได้งานขนาดนี้ ไม่สมัครมาหลายที่ ไม่ผ่านเลยเหรอ แสดง ว่าวไม่มีคนเอา รึเปล่า เอ๊ะ แล้ว เราควร รับไหม เอ๊ะ ทำไม บริษัท ก่อนหน้า เค้าไม่รับน้องคนนี้ เอ๊ะ เราเอาไงดี หรือว่า น้อง เค้าไม่ดีพอ หรือ ยังไง เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ
อย่าไปทำให้เอ๊ะ เราต้องมีความนับถือตัวเองด้วย ในความสามารถอบเรา กรุณา อย่า Beg หรือ ร้องขอ ความเหมตตา บริษัทเค้าต้องการคนมีความสามารถเข้าไปทำงาน แสดงให้เค้าดู ไม่ใช่ ไปขอร้อง ให้รับน้องเข้าทำงาน โดยไม่มีความสามารถอะไรไปแลก
15. ไม่ติดตามผล
หลังจากให้สัมภาษณ์เสร็จแล้ว บางคนคิดแค่ว่าจะรอให้ที่ทำงานติดต่อมาอย่างเดียว แม้แต่ผ่านไปแล้วเป็นสัปดาห์ก็ยังคงใจเย็น ไม่มีการสอบถามกลับไปอะไรทั้งนั้น แบบนี้ก็อาจจะเข้าใจกันได้ค่ะว่าเราไม่อยากรบเร้าอีกฝ่าย
แต่ถ้ามีคนอื่นที่เขาติดต่อไปติดตามผลสัมภาษณ์ น้องๆคิดว่าคนไหนดูมีความใส่ใจมากกว่ากันคะ? ยิ่งถ้าผู้สมัครคนนั้นมีคุณสมบัติที่ดีอยู่แล้วด้วยนะ…
วิธีแก้: ให้เราคอยติดตามผลหลังสัมภาษณ์ด้วยน้า โดยปกติแล้วการประกาศผลจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3-5 วันนะคะ เพราะฉะนั้นถ้าเกินระยะเวลานั้นแล้วให้น้องติดต่อทางบริษัทไปได้เลยนะคะ เวลาก็ผ่านมาพักหนึ่งแล้ว เพราะฉะนั้นการทำแบบนี้ไม่เรียกว่าการรบเร้านะคะ ติดต่อไปเล้ย แถมเรายังจะได้รับความสนใจจากกรรมการมากขึ้นด้วยน้า
เป็นอย่างไรบ้างคะ มีใครอ่านแล้วเห็นตัวเองบ้างหรือเปล่า พี่เหมือนจะเห็นสัก 1-2 นี่แหละค่ะ ฮ่าฮ่า พี่อยากจะบอกว่าถึงใครจะเจอข้อที่ตัวเองพลาดไปเยอะก็ไม่ต้องน้อยใจตัวเองไปนะค้า คนเราก็พลาดกันได้ทั้งนั้นน่า! จดจำวิธีแก้ไขของแต่ละข้อไว้แล้วลุยหน้าต่อไปกัน ส่วนใครที่ยังเสียใจอยู่พี่ก็มีวิธีฮีลใจตัวเองมาฝากด้วยนะ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา สัมภาษณ์งานไม่ผ่าน?
หลังจากที่สัมภาษณ์งานเสร็จพี่เชื่อว่าทุกๆคนต้องได้กลับมาคิดเรื่องเดียวกันว่า เราทำได้ดีแล้วหรือไม่? เพราะบางทีถึงเราคิดว่าเราทำการทดสอบทุกอย่างได้อย่างดีเยี่ยมหรือตอบคำถามกรรมการได้อย่างลื่นไหล แต่ก็ยังไม่สามารถมั่นใจได้ 100% ว่าจะถูกเลือกนะคะ
บางทีเราอาจจะคิดว่าเราได้สร้างความประทับใจไว้ให้กับกรรมการแล้ว แต่หากน้องๆลองสังเกตดูให้ดีๆ อาจจะจับได้ว่ากรรมการไม่ได้ประทับใจเราเลย
ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะอ่านสัญญาณจากกรรมการเป็นวิธีที่จะช่วยเป็นตัวบันทึกเทปให้น้องๆ เพื่อในครั้งหน้าน้องๆจะได้เลี่ยงการทำแบบเดิมๆ หรือช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้น้องๆคิดหาวิธีอื่นที่จะทำให้กรรมการประทับใจได้ในระหว่างการสัมภาษณ์นั่นเอง ซึ่งพี่ก็จะได้รวบรวมสัญญาณที่พี่คิดว่าจะมีโอกาสได้เจอในการสัมภาษณ์งานมากที่สุดมาให้น้องๆด้วยกัน
8 สัญญาณค่ะ
การสัมภาษณ์จบเร็วเกินไป
ปกติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์แบบ face-to-face หรือ online อย่างน้อยต้องมีระยะเวลาในการสัมภาษณ์อยู่ที่ 25-30 นาที ซึ่งถ้าน้อยกว่านั้นถ้าไม่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นล่ะก็ มันอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราไม่มีความน่าสนใจ (กรรมการจึงไม่ถามคำถามมากนัก) หรือมีข้อมูลที่ไปนำเสนอคณะกรรมการไม่มากพอ ทำให้เวลาในการสัมภาษณ์นั้นจบลงเร็วเกินไปนั่นเองค่ะ
กรรมการสัมภาษณ์ไม่ค่อยบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่งนั้นๆเท่าไหร่.
– โดยส่วนมากถ้าเกิดการสัมภาษณ์ดำเนินการไปด้วยดี กรรมการจะพยายามขายความดีงามของตำแหน่งนั้นให้เราฟัง เพราะไม่อยากให้เราเปลี่ยนใจจากตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางสถานการณ์ที่กรรมการยังมาทำงานได้ไม่นานหรืออาจจะตื่นตระหนกอยู่ก็เลยลืมพูดแนะนำตำแหน่งนั้นให้กับเราก็เป็นไปได้นะคะ ถ้าเป็นแบบนั้นเราจะถามขึ้นมาเองก็ได้ค่ะ เป็นการแสดงออกว่าเราสนใจในตำแหน่งนั้นๆจริง สามารถใช้สร้างความประทับใจได้นะคะ
รู้สึกว่าเข้าไม่ถึงกรรมการเลย
ถ้าหากน้องๆอยู่ในระหว่างการสัมภาษณ์แต่รู้สึกว่ากรรมการไม่คุยเล่น หยอกล้อ หรือถามเรื่องส่วนตัวของน้องเลย นี่อาจจะเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่ากรรมการไม่ได้สนใจในตัวน้องค่ะ หรือหากบางสถานการณ์ที่การสัมภาษณ์เป็นไปแบบเงียบๆและจริงจัง แต่กรรมการก็ยังเอ่ยถามข้อมูลส่วนตัวของน้องอยู่ แบบนั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นสัญญาณไม่ดีค่ะ เพราะอาจจะเป็นที่บุคลิกส่วนตัวที่จริงจังของกรรมการอยู่แล้วก็ได้ค่า แต่ถ้าบรรยากาศทั้งจริงจังทั้งไม่มีกรรมการถามเพิ่มเติมเลยด้วยเนี่ย น่าเก็บไปคิดนะคะ
กรรมการถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย
กรรมการที่เขามีความสนใจจะจ้างคนเข้าทำงานก็ควรมความกระตือรือร้นจะรับฟังข้อมูลของคนที่มาให้สัมภาษณ์ใช่ไหมคะ แต่ถ้าระหว่างการสัมภาษณ์ กรรมการเอาแต่เล่นโทรศัพท์หรือว่าเดินเข้าเดินออกบ่อยๆ แบบนั้นน่าจะต้องคิดเรื่องไปสัมภาษณ์ที่อื่นไว้แล้วนะคะ
กรรมการไม่ยิ้มให้คุณ
ถ้ากรรมการไม่ส่งยิ้มให้เราเลยก็แปลว่าเราไม่ได้สร้างความน่าประทับใจอะไรไว้แม้แต่นิดเดียวค่ะ ไม่ว่าจะเป็นด้วยโทนเสียง การใช้คำพูด ภาษากายของเรา หรือบางทีเราเองก็อาจจะตื่นเต้นจนลืมส่งยิ้มให้กรรมการไปก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้น น้องๆต้องอย่าลืมยิ้มให้กรรมการตอนไปสัมภาษณ์งานด้วยนะคะ เพราะยังไงเมื่อมีคนยิ้มมา คนเราจะยิ้มกลับโดยอัตโนมัติกันอยู่แล้วล่ะค่ะ แล้วการที่เราได้ยิ้มให้กันเนี่ย ก็เป็นบรรยากาศที่น่าประทับใจสุดๆไปเลยใช่ไหมล่ะคะ?เพราะฉะนั้นอย่าลืมยิ้มนะคะ!
กรรมการไม่ถามถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาของเรา
ในการสัมภาษณ์มักจะต้องมีคำถามเกี่ยวกับมุมมองการทำงานของเราเพื่อดูความสามารถของเรา อย่างเช่น
- ทำไมถึงมาสมัครตำแหน่งนี้?
- ทำไมถึงอยากทำงานนี้?
- ทำไมถึงออกจากงานก่อน?
- คุณเห็นตัวเองเป็นยังไงในอีก 5 ปีข้างหน้า?
เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าเราตอบคำถามเหล่านี้ที่สามารถโยงไปถึงทัศนคติต่อตำแหน่งและประสบการณ์การทำงานของเราได้ไม่ดี กรรมการก็คงไม่มีอะไรที่อยากจะรู้เกี่ยวกับด้านนี้ของเรามากขึ้นกว่านี้หรอกนะคะ เพราะฉะนั้นการที่กรรมการไม่ขอให้เราเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราก็แสดงว่าเขาเห็นว่ามุมมองของเราไม่ผ่านไปแล้วล่ะค่า
กรรมการถามวนถึงจุดเดิมซ้ำๆ
ถึงแม้ข้อข้างบนพี่จะบอกว่าการที่กรรมการไม่ถามถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานของเรานั้นเป็นสัญญาณไม่ดี แต่ว่าถ้าเขาถามเราซ้ำๆอยู่แค่เรื่องเดียวโดยใช้เวลามากเกินไปหรือมากกว่า 3-4 คำถามในเรื่องๆเดียว ตัวเราเองที่ถูกถามเรื่องเดิมบ่อยๆก็คงรู้สึกบ้างแน่ๆว่าเขาข้องใจหรือไม่ไว้วางใจเรื่องนี้ของเราหรือเปล่า ใช่หรือเปล่าคะ? เพราะฉะนั้นถ้าเจอแบบนี้ต้องค่อยๆอธิบายให้กรรมการเข้าใจเรานะคะ อย่าเพิ่งกลัวกรรมการน้า
กรรมการพูดกับเราว่ามีความกังวล
ไม่มีอะไรจะชัดเจนเท่าอันนี้แล้วล่ะค่ะ กรรมการบางคนก็เลือกที่จะพูดตรงๆออกไปเลยค่ะ ถ้าหากว่าเขารู้สึกว่าคำตอบที่เราตอบไป มันมีบางส่วนที่ฟังดูน่าเป็นห่วง อาจจะเป็นเรื่องความสามารถ, สาขาที่เราเรียนจบมา หรือประสบการณ์ทำงานของเรา แต่ไม่ต้องตื่นกลัวไปนะคะ นี่คือการที่กรรมการเขากำลังเปิดโอกาสให้เราได้อธิบายหรือแก้คำตอบให้ดีขึ้นค่ะ แต่ถ้าเราโดนแบบนี้แล้วไม่อธิบายอะไรที่ต่างออกไปเลย ก็ถือว่านี่เป็นสัญญาณที่ไม่ดีเอาซะเลยนะคะ
นี่ก็เป็นทั้งหมด 8 สัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่าการสัมภาษณ์ของน้องๆนั้นอาจจะไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวเช่น บุคลิกของกรรมการ ประสบการณ์ของกรรมการ หรือ สไตล์การสัมภาษณ์ของแต่บริษัทก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้นถึงจะเจอกับสัญญาณแบบนี้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้องจะต้องไม่ผ่าน 100% พี่อยากให้น้องๆได้รับรู้ไว้เพื่อจะได้เตรียมตัวแก้สถานการณ์ได้ทันนะคะ แต่อย่าถึงขั้นคอยแต่จะเก็บสัญญาณต่างๆจนไม่มีสมาธิให้สัมภาษณ์เลยน้า
จัดการกับความรู้สึกตัวเองอย่างไรเมื่อ ไม่ผ่านสัมภาษณ์งาน
เมื่อสัมภาษณ์งานไม่ผ่านกลับมาแล้วรู้สึก ‘เสียใจ’ ‘ผิดหวัง’ ‘ท้อแท้’ เราควรทำอย่างไรถึงจะก้าวข้ามความรู้สึกเหล่านี้ไปได้กันล่ะ? พี่มีสเต็ปง่ายๆ 3 สเต็ปที่พี่เคยใช้แล้วได้ผลมาฝาก
ให้เวลากับตัวเอง – การเศร้าไม่ใช่สิ่งที่ผิด เมื่อรู้สึกแย่ก็ปล่อยให้รู้สึกแบบนั้นได้แต่ว่าอย่าจมอยู่กับมันนาน เศร้าแค่ให้พอรู้ว่าครั้งนี้เราผิดหวังนะและนำความผิดหวังครั้งนี้มาเป็นพลังให้เราได้มุฟอรต่อไปค่ะ
มองหาข้อผิดพลาดแต่อย่าโทษตัวเอง – ในที่นี้พี่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เรามองจุดด้อยของตัวเองเลยนะคะ เพียงแต่ว่าเราไม่ควรเอาจุดด้อยเล็กๆแค่นั้นมาตัดสินว่าเราไม่เก่งอะไรเลย เราไร้ประสิทธิภาพ เราไม่ฉลาดนู่นนี่นั่น ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความมั่นใจในตัวเองนะคะ พี่อยากให้เราลองพิจารณาเหตุการณ์ที่ผ่านมาดูว่าเราพลาดอะไรไปตรงไหน ถ้าเรารู้แล้วเราแค่นำไปปรับปรุง อย่านำมาปรักปรำตัวเอง
มองหาโอกาสใหม่ๆ – มุฟอรไปบริษัทต่อไปจ้า หรือถ้าบริษัทเดิมเปิดรับสมัครใหม่ก็ลองไปสัมภาษณ์ดูอีกสักตั้งก็ไม่เสียหาย
ลองเอาเทคนิคต่างๆไปใช้ดูน้า พี่หวังว่าบล็อกนี้ของพี่จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับน้องๆนะคะ ไม่ว่าน้องจะกำลังไปสัมภาษณ์ที่ไหน พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สำหรับบล็อกนี้พี่ขอปิดท้ายด้วยเกร็ดเล็กๆน้อยๆเผื่อใครกำลังสนใจ
Ploy
สวัสดีค่ะ พี่พลอย ค่ะ พี่ดีใจที่น้องๆ สนใจ ที่เข้ามาเว็บไซต์ ของพี่นะคะ ติดต่อพี่ได้ที่ E-mail : team@airkhaek.com หรือ Facebook : https://www.facebook.com/airkhaek.co ประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่ตะวันออกกลาง : https://go.airkhaek.com/qatar-crew-life