มารยาท ทางสังคม ที่ควรรู้

มารยาท (Etiquette) หมายถึง กิริยาท่าทาง การวางตัว ตั้งแต่ น้ำเสียง คำพูด การพรีเซ็น ตัวเอง ที่ถูกสอนกันมา ไม่ได้เป็นสิ่งที่สังคม บังคับ ให้เราทำ แต่เป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ ในการเข้าสังคม เพื่อ ได้รับ ความเมตตา เข้ากับผู้อื่นได้ดีขึ้น และ ยังแสดงออกให้เห็นอีกว่า เราเป็นคนที่ เฟรนลี่ เป็นมิตร และ ได้รับเลี้ยงดูมาอย่างดี จาก Background ของครอบครัว ที่ดีด้วย เพราะ มารยาท จะถูกสอนกันจากในครอบครัวเป็นที่แรก
ดังนั้น การเรียนรู้ เรื่อง มารยาท ช่วยให้เรารู้จัก วิธีปฏิบัติต่อผู้อื่น ได้ดีขึ้น
การเรียนรู้เรื่อง มารยาททางสังคม จึงสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราเรียนรู้ว่า อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ตามแต่สถานการณ์ และ สิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เรา ไม่เคอะเขิล เวลาเจอสิ่งที่เราไม่คุ้นชิน ทำให้เรา รู้ว่าถ้าทำ กิริยา แบบนี้ ออกไปแบบไม่รู้ตัว คนอื่นจะตีความเป็นอย่างไรใครๆ ก็เป็นคนที่ มี มารยาทได้ ไม่ได้เกี่ยวว่า จะต้องเป็นคนที่เลิศเลอ เพอเฟค หรือ จะต้องเป็นคนที่เรียบร้อย แบบผ้าพับไว้ เรื่องของการมีมารยาท ไม่เกี่ยวกับชนชั้นทางสังคม อาชีพ ความร่ำรวย แม้แต่ระดับการศึกษาของคุณ

ข้อดีของการ เรียนรู้ เรื่อง มารยาท

  • มารยาท จะช่วยทำเรามีความสบายใจมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าเราให้คุณค่ากับตัวเอง และ ให้เกียรติผู้อื่น
  • มารยาท จะช่วยส่งเสริมความเมตตา และ เพิ่มพลังแรงดึงดูด จากผู้อื่น มากขึ้น
  • มารยาท จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิต และจะ ทำให้เรามีทักษะชีวิตเพิ่มมากขึ้น
  • มารยาท จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ของคุณให้ดูดีมากขึ้น และ กำจัดพฤติกรรมที่ไม่สุภาพ
มารยาท ทาง สังคม

มารยาท พื้นฐาน ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เพื่อส่งเสริม บุคลิกภาพ ที่ดีขึ้น และ ดึงดูด แต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตของคุณ

มารยาท ในการพบปะผู้คน ในครั้งแรก

มารยาทการทำงาน สัมภาษณ์งาน

1. ตรงต่อเวลา (Being On Time)

พยายามไปให้ตรงต่อเวลา นัดกี่โมง ต้องไปถึงกี่โมง วางแผนการเดินทางให้ดี รู้จักพูดยืนยันว่า จะออกกี่โมง และ จะถึงกี่โมง
ไม่ใช่ เออๆ งั้น 11 โมงเจอกัน 11โมงแปลว่า เจอหน้ากัน หรือ 11 โมงเราจะออกจากบ้าน กรุณาใส่ใจ กับเรื่องเล็กๆ น้อยๆเหล่านี้

2. กล่าวทักทาย สวัสดี

การกล่าวทักทาย เป็นมารยาท ที่ควรทำ ถึงแม้ว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน เพื่อนมานอนบ้าน ตื่นเช้ามา เจอหน้ากันครั้งแรกของวัน ต้องกล่าวทักทายสวัสดี เช่น หวัดดีตื่นแล้วหรอ Good Morning ทุกครั้งที่ไปที่ทำงาน เจอหน้าใครก็ควรจะกล่าวทักทาย สวัสดีเสมอ

3. การจับมือ

การจับมือเป็นการทักทาย แบบชาวตะวันตก

วิธีการจับมือทักทาย หรือ มารยาทในการ Shake Hand

  1. การจับมือ ควรจะจับแน่น หน่อย แต่ไม่แน่นจนบีบมือ
  2. การจับมือ ควรจับไม่นานเกิน 2-5 นาที
  3. ระว่างที่จับมือ ควรสบสายตา และ ยิ้มอย่าเป็นมิตร พร้อมก้มศรีษะเล็กน้อย
  4. การยื่นมือให้ไปจับ จะต้องรู้จังหวะ ด้วย ว่าจังหวะไหนเราควรยื่นมือไป
  5. ระหว่างที่ยืนมือไปจับ ต่างฝ่ายต่างจะพูดชื่อ แนะนำตัวเอง อย่าลืม จำชื่อของอีกฝ่ายด้วย

4. รู้ว่าจะนั่งได้เมื่อไหร่

เมื่อเราเข้าไปในห้องสัมภาษณ์ หรือ ที่ประชุม ที่มีหัวหน้าหรือ องค์ประชุม เราควรจะนั่ง ก็ต่อเมื่อได้รับเชิญ ให้นั่งก่อน หรือไม่ก็ขออนุญาตินั่ง ก่อนที่จะหยิบเก้าอีกออกมา แล้วก็นั่งลงไป โดยที่ไม่ได้กล่าวอะไร

5. ไม่หยิบมือถือขึ้นมา ในเวลาที่คุยกับผู้อื่น

ถ้าไม่ใช่เวลาส่วนตัว โปรดหลีกเลี่ยงการหยิบมือถือ ขึ้นมาเล่นเป็นอันขาด โดยเฉพาะในสถาการณ์เหล่านี้ เช่น

  • ในที่ประชุม
  • หน้าห้องสัมภาษณ์งาน
  • ระหว่างพูดคุยกับลูกค้า

6. ตำแหน่งในการนั่ง สำคัญ

เราควรเข้าใจ ลำดับความสำคัญ ของบุคคลในองกรณ์ หรือ ระดับอาวุโส
แน่นอนว่า ตำแหน่งหัวโต๊ะ คือ คนที่สำคัญ และ มีเรื่องที่จะต้องพูดมากที่สุด

7. ไม่พูดแทรก

ในขณะที่มีใครกำลังพูดอยู่ เราควรที่จะรอให้เค้าพูดจบก่อน แล้วค่อยถามคำถาม หรือ นำเสนอความคิดของตัวเองออกมา ไม่ควรที่จะพูดแทรก ขึ้นไป แต่หากอยู่ในจังหวะที่สำคัญจริงๆ และจะต้องพูดแทรก ควรที่จะ กล่าวคำขอโทษ ต่อผู้พูดก่อน ว่าตรงนี้ขอแทรกจริงๆ เร่งด่วน หรือ สำคัญมาก และ ถึงจะพูดแทรกได้ แต่ต้องมั่นใจว่าสำคัญจริงๆ

8. สบตาระหว่างที่พูด

ระหว่างที่เราคุยกับใคร เราควรแสดงความสนใจ ในการสบตาคู่สนทนา ที่เราพูดอยู่ด้วย แต่ก็ไม่จ้อง หรือ มองนานเกิน 10 วินาที

9. ไม่กอด อก ขณะที่พูดกับใคร

การกอดอก เป็น ภาษากาย บอกว่าเรากำลังต่อต้าน สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ดังนั้น เวลาเรารับฟังความคิดเห็น หรือ พูดกับใครอยู่ ก็พยายามหลีกเลี่ยงการกอดอก

10. แต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาส

หากเป็นการ สัมนาที่ทางการ การไปโอกาสพิเศษๆ เราก็ควรที่จะใส่สูท แต่งตัว ให้เกียรติ เจ้าของงาน ตาม Dress Code ของแต่ละงาน

มารยาท ใน สังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น

มารยาท ทางสังคม ที่ทำงาน

11. ไม่แซงคิว

การแซงคิว ถือเป็นการเสียมารยาท ไม่ควรทำ

12. รู้จักพูด Magic Words

Magic Words คือ คำพูด ขอบคุณ ขอโทษ รบกวน กรุณา ช่วย…หน่อยได้ไหม ได้โปรด ขอบใจ เป็นกลุ่มคำพูดแสดง ทัศนคติที่ดีต่อคนรอบข้าง ที่เราอาศัยอยู่ด้วย ควรจำไว้ ให้ขึ้นใจ และใช้ ให้บ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย

13. รู้จักการขอตัว จากวงสนทนา ไป ทำธุระของตัวเอง

หากต้องการทำธุรส่วนตัว เช่น รับโทรศัพท์ สายที่จำเป็น รูดซิปกางเกงขึ้น ควรขอตัวเองออกมาจาก วงสนทนา และ ทำธุระเหล่านั้นข้างนอก

14. ไม่ทำธุระส่วนตัว ต่อ หน้าสาธารณะ

เช่น การทาลิปสติก การแต่งหน้า การทำผม ต่่างๆ ควรทำในที่ลับตาคน เช่นห้องน้ำ ห้องแต่งตัว

15. ปกป้องผู้ที่ด้อยกว่า เสมอ

หากเราต้องการสังคมที่น่าอยู่ แน่นอนว่า หากใครโดนรังแกด้วยคำพูด ที่ทำให้ด้อยค่า คนๆนั้น เราควรลุกขึ้นมาปกป้อง สิ่งที่ถูกต้อง

16. รักษาคำพูด

การรักษาพูด ถือเป็น มารยาทที่พึง ปฏิบัติ ของทุกคน

17. ใส่ใจคู่สนทนา

ระหว่างที่ ใครกำลังพูดกับเรา เราควรที่จะสนใจคู่สนทนา ตั้งใจฟัง ไม่ เหม่อลอยตา มองเลยผู้พูด ไม่พูดโพร่งอะไรขึ้นมา ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ คนที่เรากำลังคุยด้วยพูดอยู่

18. ไม่ชะโงก หรือ แอบดูข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

เรื่องส่วนตัวก็คือ เรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะหน้าจอโทรศัพท์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ พื้นที่ส่วนตัวของทุกๆ เราไม่ควร สอดรู้สอดเห็นเรื่องของคนอื่น

19. อย่ารอให้ใครจ่าย ค่าอาหารให้คุณ

เวลาไปทานอาหารกับใครก็ตาม อย่าทำตัว รีรอ ให้คนอื่นจ่ายค่าอาหารให้คุณ

20. เปิดลำโพง ทั้งๆที่ไม่ได้ใส่หูฟัง

หากอยู่ในที่สาธารณะ ควรใช้หูฟัง ไม่ควรเปิดเสียง ทีวี หรือ วีดีโอคอล รบกวนผู้อื่น

มารยาท ในการส่งอีเมล

การเขียนอีเมล

21. เขียนหัวเรื่องที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา

ระบุตรง Subject ให้ชัดเจน ว่า เขียนอีเมลมาเรื่องอะไร

22. จ่าหัวด้วย เรียน

ขึ้นต้น ด้วยคำว่า เรียน คุณ … ทุกครั้ง

23. ใช้คำทักทายที่เป็นทางการ

เปิดประโยค ด้วยการทักทาย สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ ก่อนที่จะเขียนสิ่งที่เราต้องการเสมอ !!

24. เขียนประโยคจบ ว่าหวังอะไรต่อ

หลังจากที่เขียน เนื้อหาข้อความของอีเมลแล้ว อย่าลืมเขีนประโยคจบ เช่น ขอขอบคุณสำหรับเวลา และ การพิจารณาคำถามเหล่านี้ ก่อนจะลงท้ายด้วยชื่อ ของเรา

25. ใช้ภาษาที่ทางการ

ในอีเมล ควรเลือกใช้ภาษาที่เป็นทางการเสมอ จำไว้ว่า อีเมล ไม่ใช่ไลน์ ควรเขียนอย่างมีรูปแบบ กลั่นกรองความคิด ออกมาให้เรียบร้อย
หากยิ่งดี ถ้ารู้จักการใช้ ตัวหนา ตัวเอียง การขีดเส้นใต้ เน้นในสิ่งที่เขียนไป

26. อย่า CC หรือ Reply ALL หาทุกคน

อย่า cc หรือ ตอบกลับอีเมล ถึงทุกคนหากไม่จำเป็น คิดให้ดี เพราะอาจมีผลกระทบตามมาได้

27. ตอบอีเมล ให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ช้าเกินไป

เวลาตอบอีเมล ควรตอบให้รวดเร็วไม่เกิน 1 วัน แต่หากเพิ่งเห็น ก็ควรเขียนขอโทษไปด้วย ในการตอบกลับครั้งถัดไป

28. เช็คใจความเนื้อหา ของอีเมลที่ต้องการจะส่ง

ก่อนจะส่งอีเมล ตรวจทาน และ อ่านเนื้อหาของข้อความอีกครั้ง ก่อนจะส่ง

29. ตรวจสอบ การสะกด คำ

พยายามสะกดคำให้ถูกต้อง ก่อนส่ง

30. หากส่งถึง อาจารย์ หัวหน้า หรือ ลูกค้า ค้า จะต้องใช้คำให้ถูก และ สุภาพมากขึ้น

หากส่งอีเมล ถึงอาจารย์ หัวหน้า หรือ ลูกค้า ควรเลือกใช้ คำศัพท์ที่สุภาพ และ นอบน้อม ที่จะแสดงถึงทัศนคติ ในการเคารพนับถือ

มารยาท บนโต๊ะอาหาร

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

31. ไม่เคี้ยวเสียงดัง

ปิดปาก ระหว่างที่ทางอาหาร ไม่เคี้ยวให้เกิดเสียบ จ๊อบแจ๊บๆ

32. รู้จักการใช้ช้อน

ช้อนแต่ละชนิด บนโต๊ะอาหารมีหน้าที่ต่างกัน ควรใช้ให้ถูก โดยเฉพาะ การทานอาหาร กับ ลูกค้า หรือ คนระดับสูง

33. ไม่ดูดตะเกียบ

ไม่ควรดูดตะเกียบ ในที่สาธารณะ

34. ไม่พูดขณะมีอาหารอยู่ในปาก

เคี้ยวอาหารให้ละเอียด แล้วกลืนให้หมดก่อน ก่อนที่จะพูด

35. ไม่ถุยน้ำลายบนโต๊ะอาหาร

ไม่ควร ขากเสลด บนโต๊ะอาหาร

36. ไม่เอาศอก มาไว้บนโต๊ะ ขณะทางอาหาร

ระหว่างที่ใช้ช้อน ตะเกียบในการทานอาหาร ไม่ควรเอาศอก มาวางบนโต๊ะอาหาร

37. ไม่เริ่มทานก่อน คนอื่นบนโต๊ะอาหาร

ควรรอ ให้ทุกคนได้รับอาหารให้หมดก่อนทั้งโต๊ะ แล้วค่อยเริ่มรับประทาน

38. วางช้อนกับซ้อม ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าอิ่มแล้ว

วางตำแหน่งช้อนซ้อมให้ถูกต้อง เพื่อเป็น สัญลักษณ์ว่าอิ่มแล้ว ซึ่ง บริกร จะได้รู้ และ มาเก็บจานของท่าน
อ่านต่อ วิธีการใช้มีดและซ้อม

39. ตัดอาหาร ให้พอดีคำ และ ทานอย่างช้าๆ

ตัดอาหารให้พอดีคำ และ ทานช้าๆ

40. อย่าลืม แสดงความขอบคุณ เจ้าของบ้านที่ทำอาหาร ให้เราเสมอ

ทุกครั้งที่จบมืออาหาร ควรแสดงคำขอบคุณ ต่อมืออาหารนั้นๆ หรือ ขอบคุณเจ้าบ้าน ที่ได้ทำอาหารมือนี้ให้เรา