จดหมายสมัครงาน Cover Letter คือ อะไรเขียนอย่างไร มีตัวอย่าง
วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter คือ จดหมายที่เราใช้เขียนนำร่อง เกริ่นนำ ไปหา บริษัท/องค์กรณ์ ที่เราสนใจจะสมัครงานด้วย เพื่อ แสดงจุดประสงค์ว่า สนใจ อยากที่จะสมัครงาน ในตำแหน่งนั้นๆ บางครั้ง เราจะเรียก จดหมายนี้ ว่า จดหมายแนะนำตัว เพราะ เนื้อหาในจดหมาย จะเป็นมีเนื้อหา แนะนำตัวว่า ทำไมคุณถึงสนใจงานตำแหน่งนี้ ที่ผ่านมาคุณมีประสบการณ์อะไรมาบ้างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานนี้ และ คุณมีบุคลิกภาพ และ คุณสมบัติอย่างไร ที่คุณสามารถนำมาใช้ กับงานตำแหน่งนี้ได้และ มั่นใจว่า คุณจะสามารถ เป็นหนึ่งใน ผู้เข้าสมัครที่ สามารถนำคุณประโยชน์ ให้กับบริษัทได้ใน อนาคต
สรุป จดหมายสมัครงาน ก็ คือ จดหมายแนะนำตัว ว่าคุณมีอะไร ดีบ้าง ที่สามารถขยายความมาจาก เรซูเม่ เพื่อ ทำให้คุณเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ให้กับบริษัท นั่นเอง โดย จะมี ลักษณะเป็น แบบฟอร์มจดหมาย ที่มีการจ่าหัวถึง HR/ฝ่ายบุคคล และ ที่อยู่บริษัท และ ตามด้วย เนื้อหาของจดหมาย ที่จะเน้นเขียนบรรยาย เป็น เรียงความ หรือ Essay
จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter สามารถ เขียนได้ทั้ง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
การเขียนจดหมายสมัครงาน ควรเขียนภาษาอะไร?
เราจะสามารถเลือก เขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทย ก็ได้ ซึ่ง แบบฟอร์ม เหมือนกันเลย คือ ต้องจ่าหัว ถึง HR/ฝ่ายบุคคล ระบุที่อยู่ของบริษัท เริ่มต้นเนื้อหา ที่เหมือนกัน พร้อม ลงท้ายจดหมาย เหมือนกัน
วิธีการเลือกว่าจะ เขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาไทยดี คือ ขึ้นอยู่กับว่า คุณยื่นเรซูเม่ ภาษาอะไร
- ถ้ายื่น เรซูเม่ ภาษาไทย ควรเขียนเป็น จดหมายสมัครงานภาษาไทย
- ถ้ายื่น เรซูเม่ ภาษาอังกฤษ ควรเขียน เป็น จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ
จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter มีความสำคัญ ยังไง
หลายๆครั้งในการสมัครงาน บริษัท จะขอให้คุณ อัพโหลด จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter ประกอบกับ เอกสารสมัครงาน อื่นๆ เพื่อ ให้ บริษัท ได้มีข้อมูล ในการพิจารณา ผู้เข้าสมัครได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง การเขียนจดหมายสมัครงาน ให้ดี จะส่งผลให้เรา ได้ประโยชน์ ต่างๆ ดังนี้
- เป็น เอกสารตัวแรก ที่ฝ่ายบุคคล หรือ HR จะอ่านคัดกรอง ก่อน เรซูเม่ สมัครงาน
- เป็น สื่อในการบอกเรื่องราว เกริ่นนำ และ เป็นโอกาส ให้เราได้ไปสัมภาษณ์งาน ขึ้นอยู่กับว่าเราเขียนไปในแนวทางไหน เริ่มต้น ได้ดีไหม
- เป็น เป็นจุดเริ่มต้น ของการสร้างสัมพันธ์ที่ดี กับ บริษัท ที่เราสามารถแสดงทัศนคติ และ บุคลิกภาพ ของเราที่สามารถสื่อออกมาเป็น สำนวนภาษา ที่สามารถเข้าใจได้
- เป็น จดหมายแนะนำตัว ที่เราสามารถเขียน บรรยายประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ของเราโดยดึงจุดเด่น และ และ ศักยภาพของเรา ออกมาได้อย่างเต็มที่ กว่าการเขียน เรซูเม่
วิธี การเขียนจดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter
วิธี การเขียนจดหมายสมัครงาน ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ มีแบบฟอร์มเดียว คล้ายๆกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราจะ เลือกเทมเพลต จดหมายสมัครงาน แบบไหน ซึ่ง ที่นิยมคือ แบบฟอร์มจดหมายสมัครงาน ให้เข้ากันกับ เรซูเม่ หรือ บางคนอาจจะส่งไปแบบเรียบๆ ก็ได้ ด้วย ไฟล์ Word แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า จะต้อง จัดหน้ากระดาษให้ดี และ อ่านง่าย
เราจะเริ่มต้น เขียนจดหมายสมัครงานได้ดังนี้
1.การเขียนที่อยู่บริษัท
เราจะต้องเริ่มต้น เขียนที่อยู่บริษัท นี่เป็นข้อมูลการเขียนจดหมายสมัครงาน ที่น้องๆ จะต้องไปหาข้อมูลมา ว่าบริษัทนั้นๆ มีที่อยู่แบบเต็มอย่างไร ถ้าเขียน จดหมายสมัครงานภาษาไทย ก็จะต้องหาที่อยู่ที่เป็น ภาษาไทย แต่ถ้าเลือกที่จะเขียน จดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ ก็จะต้องหาที่อยู่ที่เป็นภาษาอังกฤษด้วย
โดยจะต้องตรวจสอบ การสะกดชื่อบริษัท สะกดชื่อ ถนนให้ถูกต้อง แนะนำเข้าหน้าเว็บไซต์ ของบริษัท ที่เป็นทางการ แล้วเขียนตามค่ะ
ตัวอย่างจดหมายสมัครงาน ภาษาไทย
บริษัท ทิ๊งวิทมี จำกัด
สรินคอนโด 105 สุขุมวิท 26 คลองตัน
เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
ตัวอย่างจดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษ
ThinkWithMe Co. Ltd.
Serene Condo 105 Sukhumvit 26
KlongTan Wattana Bangkok 10110
2. เขียน วันเดือนปี
เขียนวัน เดือน ปี ที่เราเขียนจดหมายสมัครงานนั้นๆ เราสามารถจัดย่อหน้าให้อยู่ตรงกลาง หรือ ด้านซ้าย ก็ได้ โดยระบุ วันเดือนปี ซึ่งควร เว้นบรรทัด ให้อยู่ คนละบรรทัด กับ ที่อยู่
ตัวอย่าง เขียน วันเดือนปี
ภาษาไทย : 20 ตุลาคม 2563 (วัน เดือน ปี)
ภาษาอังกฤษ : October 22, 2020 (เดือน วัน ,ปี)
3.ระบุ ชื่อบุคคลที่เรา เขียนถึง
หลังจากหา ชื่อที่อยู่บริษัท ได้แล้ว เราจะต้อง หาชื่อ บุคคลที่เราจะติดต่อ เพื่อสมัครงานด้วย โดยทั่วไปแล้ว ตามประกาศสมัครงาน จะเขียนชือ บุคคลที่น้องๆ จะต้องติดต่อทิ้งไว้ ถ้าหาไม่เจอหรือไม่ทราบ ให้เขียน Dear Sir/Madam แทน
ตัวอย่าง การจ่าหัวจดหมายสมัครงานภาษาไทย
เรียน คุณ โดนัล
ตัวอย่าง การจ่าหัวจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ
Dear John,
Dear Sir/Madam,
4.เขียนแสดงความสนใจ ตำแหน่งงาน
ในส่วนเริ่มต้นขอ เนื้อหาจดหมายสมัครงาน ให้เขียนเริ่มต้น เกริ่น แสดงความสนใจ ว่า ทำไมเราถึงสนใจ ที่จะร่วมงาน ในตำแหน่งนี้ เคยทำอะไรมาก่อน แล้ว พอเห็นประกาศรับสมัครงานนี้ มันปิ๊ง เลยอยากที่จะ สมัครงานในตำแหน่งนี้ ตรงนี้ เรียกว่า เป็นส่วนของ Opening เราต้องเปิดประเด็น ให้น่าสนใจว่าทำไม เราถึงอยากที่จะเข้าไปทำงานที่นี่
ตัวอย่าง เนื้อหาจดหมายสมัครงานภาษาไทย
ผม ได้ทราบ ประกาศรับสมัครงาน ตำแหน่ง Accountant Executive (AE) ของบริษัท ทิ้งวิทมี ผ่าน ทาง หน้าเว็บไซต์ จึงรู้สึกสนใจที่จะสมัครงานตำแหน่งนี้
ตัวอย่าง เนื้อหา Cover Letter ภาษาอังกฤษ
I am writing to apply for Accountant Executive (AE) position advertised on ThinkWithMe. I am confident that I can deliver my skills and abilities to value the most to your company from my strong background in coaching customer relationship management programs (CRM) for the company’s staff.
เขียนถึง ให้ดึงดูดที่สุด เพียงประโยค สั้นๆ
5.อธิบาย ประสบการณ์ทำงาน
อธิบายว่าเคยทำอะไรมาก่อน เหมาะสมกับตำแหน่งนี้อย่างไร ตรงนี้เป็นจุดที่เราควรจะขาย จุดเด่น จุดแข็ง ของตัวเองออกมาให้มากที่สุด ว่าเราทำอะไรมาก่อน แล้ว ประสบการณ์เหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไรกับตำแหน่งที่เราจะสมัคร
ตัวอย่าง เนื้อหาจดหมายสมัครงานภาษาอังกฤษ
Last month alone, I help company XYZ’ reduce costs by negotiating the best deal for them and run a successful business deal with Mr. Mark Zuckerberg the owner of Facebook for the investment which creates a higher share on the stock market. I am confident that my skills are well aligned with the role of Accountant Executive.
เขียนพิสูจน์ ให้ เจ้านายที่กำลังจะเลือกเราเข้าไปทำงาน เห็นว่า เราเหมาะมากที่จะทำงานตำแหน่งนี้
6. ระบุ ทักษะพิเศษ
ให้ระบุ และ กล่าวถึง ความสามารถพิเศษ หรือ ทักษะ พิเศษที่มี เขียนขายจุดเด่นของตัวเอง เข้าไปค่ะว่า มีทักษะอะไรบ้าง มีสกิลอะไร นี่จะทำให้คุณโดดเด่น และ ได้รับหูโทรศัพท์ ให้เข้าไปสัมภาษณ์งาน
เขียน โชว์ศักยภาพว่า เรามีศักยภาพ ตรงตามที่ บริษัท กำลังมองหา ซึ่ง ตรงนี้ เนื้อหา ในการเขียน จะต้องเน้นเป็น เรื่องราวประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นของตัวเอง ที่ผ่านมา เฉพาะ บุคคล ว่าเกิดอะไรขึ้น ถึงทำให้เรา รู้สึกสนใจ และ อยากจะเข้าไปทำงาน หรือ เข้าไปเรียนต่อที่นี่
คล้ายๆ กับ การเขียน SOP สำหรับเรียนต่อ แต่ ใน Cover Letter จะเป็นการบรรยาย ศักยภาพ ของเรามากกว่า ด้วย อธิบายจากสิ่งที่เคยทำมา เช่น ภาวะความเป็นผู้นำ ความสามารถในการจัดการด้านเวลา เนื้อหาในจดหมายสมัครงาน จะเน้น ให้เราเขียนระบุ จุดเด่นของเรา ออกมาตรงๆ
7.กล่าวถึงคนแนะนำ (ถ้ามี)
ตรงจุดนี้คือ ถ้าเรามี ครูบาอาจารย์ ญาติ พ่อแม่ พี่น้อง ที่ทำงานในบริษัทนี้ มาก่อน เขียน ให้เห็นว่า เรามีดีจริง อาจารย์ หรือ คนในองค์กรณ์เหล่านี้ เค้ายังเห็นเลย
8.สรุปจบ ให้ดี
กล่าวสรุปจบ ใน จดหมายสมัครงาน ให้ดีว่า เรามีคุณสมบัติ ตรงตามที่บริษัทต้องการนะ จะดีใจมาก และ ตั้งตารอ วันที่เรียกไปสัมภาษณ์มาก พร้อมได้แนบเอกสารที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ดังนี้ อาจจะ แนบ Resume ไปด้วย
เขียนสรุป ให้ดีว่า ทำไม ถึงเค้าอยากจะ เรียกเราเข้าไปสัมภาษณ์ เพื่อรู้จักตัวตน เรามากขึ้น
เคล็ดลับ การเขียน Cover Letter ต้องครอบคลุมสิ่งไหนบ้าง
การเขียน จดหมายสมัครงาน หรือ Cover Letter ก็เหมือนการได้ สัมภาษณ์กับบริษัท โดยที่เค้าไม่ได้ถามคำถามด้วยซ้ำ ถ้าเราเขียนดี เกริ่นนำดี ตั้งแต่ ย่อหน้าแรกๆ ก็จะทำให้เรามีโอกาส ให้ผู้อ่าน (HR ของบริษัท) ได้อ่านประวัติ ความสามารถของเรา
เคล็ดลับใน การเขียน Cover Letter มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
เขียนอย่าให้เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
ควรเขียนให้กระชับ มีไม่เกิน 3 ย่อหน้า จะดีที่สุด ถ้าเขียนในรูปแบบของ อีเมล ก็กะๆ ให้ไม่ยาวเกินไป แต่ก็ไม่สั้นเกินไปเช่นกัน เนื้อหา ควรจะมีอย่างน้อย 3 ย่อหน้า ให้ได้
อย่าสะกดชื่อ HR หรือ ชื่อ บริษัท ผิดเป็นอันขาด
พยายาม อ่านให้ดี ในประกาศรับสมัครงานว่า เราจะต้องติดต่อใครไป แล้วก็เขียนจ่าหัวถึง คนๆนั้น ซึ่ง ตรงนี้ เราควรที่จะมั่นใจว่าเรา ไม่สะกดชื่อ HR ที่เรากำลังเขียนหาผิด หรือ ไม่สะกดชื่อบริษัทผิด
สังเกต ให้ดี ทั้งการเขียน พิมพิ์เล็ก พิมพิ์ใหญ่ บริษัทเค้า สะกดชื่อตัวเอง อย่างเป็นทางการอย่างไร เราก็ควรจะสะกด ตามนั้น
เขียนพรรณาว่า เราเคยทำอะไรมาบ้าง ไม่ใช่บอกว่าเราเก่งอะไร
การที่เราจะบอกว่าเราเก่งอะไร แบบมีน้ำหนักมากที่สุด คือการที่เราบอก สิ่งที่เราทำมา บอกผลงาน เช่น ทำยอดขายได้สูงสุด แข่งขันอะไรมาชนะ ได้รับรางวัลโน้นนี่นั่น มา ที่มันสอดคล้อง กับ ทักษะที่จำเป็น ในการสมัครงานตำแหน่งนั้นๆ
อย่าเขียน วกไปวนมา แต่ละย่อหน้า ต้องสั้น กระชับ ดึงดูด และ น่าสนใจ
คิดให้ดีว่า แต่ละ ย่อหน้า เราจะเขียนอะไรบ้าง แต่ละย่อหน้าไม่ควรซ้ำกัน หรือวกไปวนมา แต่ควรจะส่งเสริมกัน
พยายามใช้เทคนิค การเขียนโน้มน้าวจิตใจ
เรียนรู้ การเขียนแบบพรรณาให้เห็นภาพ วิธีการฝึก คือ ให้อ่าน Copy Writting มากๆ เพราะ การเขียนแบบ Copy Writting มักจะมีจุดดึงดูด ให้คนสงสัย แล้วอ่านต่อ
อ่านตรวจทานให้แน่ใจอีกครั้ง ก่อนส่ง
หลังจากเขียน จดหมายสมัครงาน เสร็จ ก็ให้พัก ทำโน้นทำนี้ หรือ ไม่ก็ปิดคอมพิวเตอร์ไปเลยก็ได้ค่ะ แล้วตื่นขึ้นมาเฟรสๆ แล้วลองอ่าน ตรวจทานสิ่งที่เขียนไปอีกครั้ง ก่อนส่ง เสมอ
ตัวอย่างจดหมายสมัครงาน
เรา สามารถช่วยคุณ ดึงจุดเด่น ออกมา ลงใน จดหมายสมัครงาน ของคุณได้
Ploy
สวัสดีค่ะ พี่พลอย ค่ะ พี่ดีใจที่น้องๆ สนใจ ที่เข้ามาเว็บไซต์ ของพี่นะคะ ติดต่อพี่ได้ที่ E-mail : team@airkhaek.com หรือ Facebook : https://www.facebook.com/airkhaek.co ประสบการณ์ชีวิตการทำงานที่ตะวันออกกลาง : https://go.airkhaek.com/qatar-crew-life